ด้าน ดร.จุฬาลักษณ์ วัฒนานนท์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี และเป็น STEM Ambassador Thailand กล่าวว่า เราจะเน้นความรู้ใน 4 ด้านทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM เข้ามาใช้ในโครงการเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล เกิดการเชื่อมโยงเนื้อหาอย่างมีเหตุมีผล ลดช่องทางทักษะการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การเป็นนักปฏิบัติมืออาชีพต่อไปได้ โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโนลยี และคณะครุศาตร์อุตสาหกรรม ในการพัฒนาบ่มเพาะให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการการเรียนรู้ โดยนำแนวทาง STEM มาใช้ในการสร้างเสริมความเข้าใจของศาสตร์ต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ศาสตร์เหล่านี้ในการแก้ปัญหาจริง
ผศ.จักรี รัศมีฉาย อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี กล่าวเสริมว่า โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าวนี้ คือการมีสถานที่ฝึกการเรียนรู้ การทดลอง และการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างชิ้นงานให้เกิดขึ้นต่อไป อันจะนำไปสู่ความเข้าใจในศาสตร์ต่าง ๆ อย่างถ่องแท้.