เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)กล่าวถึงกรณี ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลการบริหารงานกระทรวงศึกษาธิการ ต้องการให้นำการเรียน Active Learning มาใช้จัดการเรียนการสอนในทุกช่วงชั้น ว่า วิธีการจัดการเรียนการสอนในโลกยุคใหม่ต้องเปลี่ยน เพราะทุกที่ทุกเวลาสามารถเรียนรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ได้  โดยมีหลักคิด คือ วันนี้ต้องพัฒนาเด็กให้เกิดองค์ความรู้  ต้องดูเรื่องสมรรถนะของเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีสมรรถนะแตกต่างกัน บางคนเก่งกีฬา บางคนเก่งศิลปะ บางคนเก่งดนตรี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องความสามารถของแต่ละคนที่เราต้องส่งเสริมให้เด็กมีความเป็นเลิศทางด้านนั้น  แต่การเรียนในห้องเรียนหรือจากหนังสืออย่างเดียวไม่สามารถส่งเสริมได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดได้จากกระบวนการคิด วิเคราะห์ และเรียนรู้ ซึ่งก็คือกระบวนการ Active Learning ที่เป็นการพัฒนาสมองให้เกิดการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้

“หลักคิดในการจัดการเรียนการสอนยุคใหม่คือ ต้องใช้ Active Learning มากกว่า Passive Learning  ไม่ได้หมายความว่าต้องเลิก Passive Learning  การเรียนแบบ Passive Learning ยังคงต้องมีอยู่ เพราะถ้าไม่มีองค์ความรู้ก็ไม่สามารถสร้างกระบวนการได้ ดังนั้นทั้งสองสิ่งนี้ต้องคู่กัน แต่ Active Learning ต้องมีมากกว่า เนื่องจาก Active Learning มีหลากหลายวิธีการทั้งการถามผู้รู้ การสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์  ซึ่งผลที่ได้ไม่มีอะไรผิดหรือถูก แต่เด็กจะสามารถคิดเป็นกระบวนการได้”ดร.อำนาจกล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม การที่จะสอนเด็กให้เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ได้ ตัวผู้สอนก็ต้องปรับปรุงกระบวนการวิธีการสอน ซึ่งวันนี้ตนมั่นใจว่าครูมากกว่าร้อยละ60 มีความเข้าใจอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร เพราะฉะนั้นครูก็ต้องปรับปรุงเรียนรู้ไปพร้อมกับการปฏิบัติสร้างองค์ความรู้ให้กับตัวเอง โดยศึกษานิเทศก์คงต้องทำงานหนักมากขึ้นในการกระตุ้นและสนับสนุนให้ครูสร้างองค์ความรู้ และกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ให้เข้าใจให้ได้ว่าทุกคนต้องเป็นนวัตกร

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments