วันที่ 16 สิงหาคม 2567 จ่าสิบเอกดร.สมพร ชูทอง ผู้อำนวยการสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือตามโครงการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยพณิชยการธนบุรีกับสถานประกอบการหรือหน่วยงานอื่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีนางสาวสาริศา พิชัยฤกษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี เเละสถานประกอบการจำนวน 50 เเห่ง ร่วมลงนามความร่วมมือ ณ ลานโดมอเนกประสงค์ วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี

จ่าสิบเอก ดร.สมพร กล่าวว่า ปัจจุบันบุคลากรขององค์กรต้องมีการพัฒนาเรียนรู้ก้าวทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ การสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ต้องเริ่มบ่มเพาะความรู้และประสบการณ์ตั้งแต่ขณะที่อยู่ระหว่างการศึกษา เพื่อให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม การจัดการศึกษาจึงไม่สามารถอยู่แต่ใน ห้องเรียนได้ การที่สถานศึกษาและสถานประกอบการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้พัฒนาการจัดการ เรียนการสอนร่วมกัน เป็นการเปิดโอกาสนักเรียน นักศึกษา ได้ฝึกฝน เรียนรู้สร้างเสริม ประสบการณ์จากสถานประกอบการ เป็นการสร้างรากแก้วแห่งทักษะวิชาชีพ ให้นักเรียน นักศึกษา ได้กลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญของชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมให้เจริญก้าวหน้า การจัดงานในครั้งนี้ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการร่วมกันจัดการอาชีวศึกษา ของคณะผู้บริหาร ครู บุคลากร และสถานประกอบการมากมาย

ผู้อำนวยการสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร กล่าวต่อว่าในนามของวิทยาลัยพณิชยการ ธนบุรี ขอขอบพระคุณสถานประกอบการทุกแห่ง ที่เล็งเห็นความสำคัญของการร่วมกันพัฒนา นักเรียน นักศึกษา พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้วิทยาลัยสามารถผลิตบุคลากรที่เก่งด้วยวิชาการ ชำนาญด้วยทักษะวิชาชีพ มีความพร้อมและสามารถปฏิบัติงานได้จริงเมื่อจบ การศึกษา และเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

ด้าน นางสาวสาริศา กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี กับสถานประกอบการจำนวน 50 แห่งวัตถุประสงค์ในการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อเพิ่มจำนวนสถานประกอบการหรือหน่วยงานในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีประสบการณ์วิชาชีพให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและเปิดโอกาสให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมในการจัดอาชีวศึกษาในสาขาวิชาที่หลากหลาย อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการหรือหน่วยงานอื่นซึ่งวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ตระหนักในความสำคัญของการพัฒนานักเรียน นักศึกษา จึงมุ่งมั่นผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของสถานประกอบการตอบโจทย์ต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้ที่เก่งทั้งวิชาการและมีความชำนาญในวิชาชีพ พร้อมเข้าสู่โลกการทำงานจริง สามารถปฏิบัติงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments