เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ​สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศด้านการศึกษา อาทิ องค์การยูเนสโก ประเทศไทย องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำหนดจัดการประชุมสภาการศึกษานานาชาติ เรื่อง ความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาในสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไป (International Education Council Seminar on Education Competitiveness  in a Global Changing Environment) ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม 2 สิงหาคม 2567 เพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาร่วมกับองค์การชั้นนำระดับนานาชาติ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก OECD

ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ปี 2567 เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ประเทศไทยตั้งรับมือกับความท้าทายทางการศึกษาในระดับนานาชาติหลายประการ อาทิ การเตรียมความพร้อมในการทดสอบ PISA ในปีหน้า การยกระดับผลการจัดอันดับ IMD และการเตรียมความพร้อมในการเข้าเป็นชาติสมาชิก OECD ซึ่งทุกประเด็นเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลง
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ส่งผลต่อการจัดการศึกษาเป้นอย่างยิ่ง โดย สกศ. ได้สังเคราะห์บริบททุกมิติที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการศึกษา พบว่า บริบท 4 มิติที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษามากที่สุดในปัจจุบัน ประกอบด้วย สังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สกศ. จึงได้นำผลการสังเคราะห์นี้ มาเป็นธีมหลักในการจัดการประชุมในครั้งนี้

ดร.อรรถพล กล่าวว่า ไฮไลท์สำคัญของการปะชุมในครั้งนี้ คือ การเชิญตัวแทนด้านการศึกษาองประเทศต่าง และผู้แทนหอการค้าต่างประเทศเข้าประชุมหารือในรูปแบบ Round Table เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาที่จะรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน  4 ด้าน ซึ่งข้อสรุปที่ได้จากการประชุม Round table นั้น จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาทั้งจากประเทศไทยละต่างประเทศรวมกว่า 30 ท่าน และมีผู้เข้าร่วมประชุมจากองค์การระหว่างประเทศด้านการศึกษากว่า 10 หน่วยงานทั่วโลก ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชฑูตและหอการค้าต่างประเทศ ประจำประเทศไทยกว่า 20 ประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกียวข้องรวมมากกว่า 200 ท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า 10 หน่วยงาน ในประเด็นเกี่ยวกับผลการขับเคลื่อนการยกระดับการศึกษาไทยที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

​“การประชุมสภาการศึกษานานาชาติครั้งนี้ จัดแบบผสมผสานระหว่างการประชุม Onsite และ Online โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีการนำเสนอข้อมูลใน 4 หัวข้อหลัก ตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาในปี 2024  ได้แก่ 1) นโยบายการศึกษาในสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป  2) นโยบายการศึกษาในสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป  3) นโยบายการศึกษาในสภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและ 4) นโยบายการศึกษาในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของการประชุมจะเป็นองค์ความรู้และข้อเสนอที่ตอบคำถามในประเด็นทางการศึกษาต่าง ๆ คือ 1) สถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในโลก อย่างไร 2) ปัจจัยความสำเร็จที่จะทำให้ระบบการศึกษามีภูมิคุ้มกันและตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าว คืออะไร 3) ลักษณะของระบบการศึกษาที่ดีที่จะสามารถรับมือและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ เป็นอย่างไร และ 4) ข้อเสนอการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ตอบสนองกับสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไป” ดร.อรรถพล กล่าวและว่า การจัดการประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับการทำงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาสู่ระดับโลกมากยิ่งขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยที่จะก้าวเข้าสู่ชาติสมาชิกของ OECD ซึ่งในภารกิจด้านการศึกษานั้น กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการ นอกจากนี้ การจัดการประชุมครั้งนี้ จะทำให้ประเทศต่าง ๆ เห็นศักยภาพของประเทศไทยด้านการศึกษาที่พร้อมจะแสดงบทบาทเป็นผู้นำด้านการศึกษาในเวทีโลกอย่างเต็มภาคภูมิ สุดท้ายนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้วางแผนต่อยอดและรักษาเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาในการประชุมครั้งนี้สู่การจัดตั้งสภาการศึกษานานาชาติให้กลายเป็นองค์กรนโยบายและแผนการศึกษาที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและแนวโน้มทางการศึกษาในระดับโลกในอนาคต

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments