เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สอศ.) ได้เร่งรัดในการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามมติของสภาการศึกษาในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการยืนยันเสนอร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ฉบับที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เรื่องเสร็จที่ 660/2564 โดยมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชน ด้วยวิธีการที่เหมาะสมอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องกับเเนวทางการดำเนินการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านกฎหมาย พร้อมทั้งข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่มอบหมายให้สกศ.นำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ครอบคลุมรอบด้าน พร้อมทั้งสรุปสาระสำคัญ และวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ซึ่งรัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามเสนอร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ฉบับที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เรื่องเสร็จที่ 660/2564 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามกระบวนการตราเป็นกฎหมายต่อไป
ฉบับปี2542ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดีอยู่แล้ว เป็นพ.ร.บ.กระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์
พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นการรวบอำนาจเหมือนพ.ร.บ.ก่อนปี2542
น่าจะคงเนื้อหาพ.ร.บ.ปี2542ไว้ทั้งหมด แล้วเพิ่มเติมมาตราที่เกี่ยวกับศึกษาธิการจังหวัดลงไป แล้วปรับมาตราที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกัน
เพราะเจตนาในการเชียนพ.ร.บ.ใหม่ในครั้งนี้ เป้าหมายที่สำคัญเพียงแต่จะให้มีศึกษาธิการจังหวัดเหมือนเดิมเท่านั้น