เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษาเปิดเผยว่า ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า การเปลี่ยนแปลงความรู้รวดเร็วและค้นหาได้มากมายในโลกดิจิทัล ดังนั้น การเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นไปที่การให้เด็กได้มีทักษะ และหลังจากสถานการณ์โควิดทั่วโลกไม่เพียงพูดถึงแค่ทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังพูดถึง Meta Skills ที่มีความจำเป็นในยุคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ การกำหนดชุดทักษะที่จำเป็นกลายเป็นเรื่องระดับสากล ดังจะเห็นได้จาก World Economic Forum (WEF) จะเผยแพร่ชุดทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับชุดทักษะที่จำเป็นของประเทศตนเป็นการเฉพาะ เช่น สิงคโปร์สวีเดน เยอรมนี ญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ เป็นต้น
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมามีการกล่าวถึงการให้ความสำคัญกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แต่ไม่เคยมีการกำหนดชุดทักษะที่จำเป็น ดังนั้นอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านวิจัย เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมด้านการศึกษาได้ศึกษาที่มีศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา เป็นประธาน ได้ศึกษาสถานการณ์วิกฤติและโอกาสของประเทศ และเล็งเห็นความสำคัญที่มากขึ้นเรื่อยๆ ของการกำหนดชุดทักษะที่จำเป็น (Essential Skills Set) สำหรับเด็กละเยาวชนไทย โดยได้ศึกษาและจัดทำข้อเสนอเรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอต่อสภาการศึกษาพิจารณาผลักดันชุดทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กและเยาวชนไทยในเร็วๆ นี้
ดร.อรรถพล กล่าวว่า ข้อเสนอชุดทักษะที่จำเป็นนี้ครอบคลุม 4 มิติ คือ (1) ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) (2) ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและสมรรถนะที่ไม่ใช่ความรู้หรือทักษะทางเทคนิคเฉพาะทาง (Soft Skills หรือ non-technical Skills) (3) ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) และ (4) ทักษะใหม่ที่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง (Meta-skills) โดยจัดเป็น 2 กลุ่มทักษะ ได้แก่
• ชุดทักษะพื้นฐาน (Basic Skills Set) ที่คนไทยทุกคนควรมี ประกอบด้วย 7 ทักษะได้แก่ (1) Literacy (2) Numeracy) (3) Learning Literacy (4) Socio-Cultural Literacy (5) Ethical Literacy (6) Health Literacy และ (7Financial Literacy
• ชุดทักษะขั้นสูง (Advanced Skills Set) ซึ่งแต่ละสาขาอาชีพจะมีความเข้มข้นในแต่ละทักษะแตกต่างกัน ประกอบด้วย 19 ทักษะ ได้แก่ (1) Active Learning and Growth-Mindset (2) Communication (3) Negotiation (4) Cognitive Flexibility (5) ICT and Digital Literacy (6) Interpersonal Skills (7) Leadership and Social Influence (8) Reasoning and Ideation (9) Self-Awareness and Self-Management (10) Technology Design and Monitoring (11) Critical and Analytical Thinking (12) Creativity and Innovation (13) Complex Problem-solving (14) Emotional Intelligenc: EQ (15) Collaboration (16) Initiative (17) Systems Thinking (18) Judgement & Decision-Making และ(19) Resilience / Stress-Tolerance
เมื่อคณะกรรมการสภาการศึกษาเห็นชอบชุดทักษะที่จำเป็นนี้แล้ว จะมีการนำร่องในสถานศึกษา โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะสนับสนุนด้านวิชาการ หากประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนให้เด็กและเยาวชนไทยมีชุดทักษะที่จำเป็นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจในเรื่อง Skills Mitmatch ของตลาดงานที่ไทยเผชิญมาอย่างยาวนานด้วย