เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว นี้ได้หารือกับอดีตกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร เพื่อวางแนวทางส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านกีฬา ต่อยอดสู่อาชีพให้นักเรียนในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ   โดยเบื้องต้นจะเริ่มจากการสร้างแรงบันดาลใจ ด้วยการจัดทำคลิปวิดีโอผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการเล่นกีฬาต่อยอดสู่อาชีพ จากนั้นจะมีการพัฒนาครูกายภาพบำบัดในโรงเรียน เพื่อช่วยบ่มเพาะนักเรียนให้มีทักษะด้านกีฬา ได้เล่นกีฬาที่ชอบ หรือเล่นตามความถนัดของแต่ละคน

ผอ.สศศ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนในโรงเรียนการศึกษาพิเศษนั้น เมื่อเร็ว นี้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (...) ได้ยกเว้นหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัด สศศ.  ซึ่งเดิมจะมีปัญหาคนมีคุณสมบัติสมัครเข้ารับการคัดเลือกน้อยเพราะติดเงื่อนไขระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่สอนเป็นเวลา 3 ปี ทั้งยังมีภาระงานในหน้าที่มากกว่าครูปกติ จึงขอลดเงื่อนไขระยะเวลาจากต้องปฏิบัติหน้าที่สอน 3ปี เหลือ 2 ปีเพื่อให้มีผู้มีคุณสมบัติในการสมัครเข้ารับการคัดเลือกมากขึ้น และเพียงพอต่อความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาและจำนวนตำแหน่งว่างที่เปิดรับสมัคร  ขณะเดียวกันกำลังจะจัดหาอัตราเพื่อเปิดรับครูสายสนับสนุนครูผู้สอน โดยเฉพาะครูที่ต้องทำหน้าที่ดูแลเด็กพักนอน เพื่อลดภาระให้สามารถทำหน้าที่สอนได้อย่างเต็มที่

นางภัทริยาวรรณ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามในส่วนของครูสายสนับสนุนการสอนที่ทำหน้าที่ดูแลนักเรียน นั้น ขณะนี้ถือว่ามีความขาดแคลนค่อนข้างมาก ส่งผลให้ครูยังต้องทำหน้าที่ทั้งงานสอนและการดูแลนักเรียนในเรื่องอื่นเพิ่มเข้ามาด้วย ดังนั้นจึงต้องหาอัตราในส่วนนี้เพิ่มเข้าไปเพื่อช่วยครูผู้สอน โดยปัจจุบันมีโรงเรียนในสังกัดสศศ.จำนวนทั้งสิ้น 183 แห่ง แบ่งเป็นศูนย์การศึกษาพิเศษ  77 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ซึ่งดูแลเด็กเฉพาะทางที่มีความต้องการพิเศษอีก 49 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ 52 แห่ง  สำหรับสิ่งที่อาจจะต้องเร่งจัดหาเพิ่มขึ้น เพราะมีความจำเป็นคือ สื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพราะสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ บางอย่างไม่ตอบสนองความต้องการของเด็ก นอกจากนี้ยังต้องดูแลเรื่องงบอุดหนุนรายหัว คูปองการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษด้วย โดยเมื่อเร็ว นี้ได้มีการหารือกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบฯในส่วนดังกล่าว ซึ่งล่าสุดทางสำนักงบประมาณก็มีแนวทางที่จะช่วยเหลือ จัดสรรงบฯให้ครอบคลุมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคน ทั้งเด็กที่เรียนในสังกัดสศศ. และเด็กที่จัดการเรียนร่วมกับเด็กปกติด้วย

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments