วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) มอบหมายให้ เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการ กอศ. ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ร่วมกับ นายษรัญพัฒน์ ทวีสิทธาพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท จัสท์ คาร์ จำกัด เพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ณ ห้องประชุม 5 สอศ.

เรืออากาศโท สมพร กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการผลิตและพัฒนากำลังคน โดยส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสูงสุด มีสมรรถนะทักษะวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จับมือภาคีเครือข่ายดำเนินการพัฒนายกระดับการเรียนการสอนในระบบทวิภาคีให้มีความเข้มข้นทุกระดับการศึกษา ในครั้งนี้ บริษัท จัสท์ คาร์ จำกัด ได้สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล ให้มีทักษะด้านช่างตรวจสภาพรถยนต์ และหลักสูตรให้สอดคล้องกับวิชาชีพ และรวมถึงพัฒนาครู และบุคลากรอาชีวศึกษา ด้านช่างตรวจสภาพรถยนต์ให้มีความเชี่ยวชาญ ส่วนนักศึกษาสาขาบัญชี การตลาด และเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าฝึกอาชีพในส่วนของสำนักงาน ซึ่งนักศึกษาจะได้รับองค์ความรู้ เพิ่มขีดความสามารถ มีสมรรถนะ และเป็นกำลังคนอาชีวศึกษาที่พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยความร่วมมือดังกล่าวมีสถานศึกษานำร่อง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด ซึ่งรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2/2566 จำนวน 24 คน และในปีการศึกษา 1/2567 จำนวน 30 คน เมื่อจบหลักสูตรแล้ว นักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกตามคุณสมบัติของบริษัทจะได้บรรจุเป็นพนักงานของบริษัท

ด้าน นายษรัญพัฒน์ กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มตัวกลางซื้อ-ขายรถยนต์ครบวงจร พร้อมสนับสนุนการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีกับ สอศ. และเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของ
การพัฒนาเยาวชนทั้งการเรียนรู้ทฤษฎีและปฏิบัติในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง เพื่อสั่งสมประสบการณ์ และเตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวสู่สายอาชีพในอนาคต ซึ่งนักศึกษาในระบบทวิภาคี จะได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษา สวัสดิการระหว่างเรียน ตั้งแต่ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่ารักษาพยาบาล ชุดยูนิฟอร์ม และชุดปฏิบัติการ ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าสถานที่พัก และใช้พื้นที่สวัสดิการ เฉกเช่นเดียวกับพนักงานบริษัท JUST ทุกคน บริษัทได้เล็งเห็นความสำคัญมุ่งพัฒนาเยาวชนไทยมีสมรรถนะที่ตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments