เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง และประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) ประชุมหารือร่วมกับศูนย์พัฒนาอาชีวศึกษา (CVED) โดย Mr. Peng Binbai ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอาชีวศึกษา เข้าร่วมหารือ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมหาแนวทาความร่วมมือกับศูนย์พัฒนาอาชีวศึกษา (CVED) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ การถ่ายทอดองค์ความรู้และการฝึกอบรมเพิ่มประสบการณ์วิชาชีพครูอาชีวศึกษา การจัดการศึกษาร่วมในรูปแบบต่างๆ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีความสำเร็จด้านความร่วมมือด้านการศึกษาที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ได้แก่ จัดส่งครูอาสาสมัครจีนมาสอนภาษาจีนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งสถาบันขงจื่อ/ห้องเรียนขงจื่อขึ้นในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย อบรมทักษะภาษาจีนให้แก่บุคลากร สอศ. พัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาจัดส่งนักศึกษาอาชีวศึกษาไทยไปศึกษาต่อและฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพทั้งในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาในหลายมณฑลของจีน โดยจัดส่งนักศึกษาอาชีวศึกษาไทยไปศึกษาต่อและฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพทั้งในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาในหลายมณฑลของจีน

“ความร่วมมือจัดการเรียนการสอนร่วมระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาสังกัด สอศ. และสถาบันอาชีวศึกษาภาครัฐของประเทศจีน ในรูปแบบทวิวุฒิ และการจัดฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์รูปแบบ อินเตอร์เน็ต อีกทั้งยังมีการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในด้านการศึกษาระดับปริญญาตรี และจะร่วมกันสร้างการเรียนการศึกษาที่ทันสมัย โดยเน้นใช้นวัตกรรม  และความร่วมมือที่สำคัญคือการ สร้างคนร่วมกัน  สร้างเด็กรุ่นใหม่ให้ทันสมัย มีความมุ่งมั่น และขยัน เพื่อขยายผลในการสร้างเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการลงทุนและธุรกิจต่างๆ  สอดคล้องกับแนวคิด “อาชีวะสร้างบ้าน สร้างเมือง ด้วยมืออาชีวะ””สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนีกล่าว

ด้านว่าที่ร้อยตรี ธนุ   กล่าวว่า สอศ.เล็งเห็นความสำคัญของภาษาจีนสำหรับนักเรียน นักศึกษาในสังกัด จึงได้ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนภาษาจีน รวมทั้งพัฒนาทักษะวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษาให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการจีนทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน ได้ร่วมมือกับสถานศึกษาของจีนพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกันในรูปแบบทวิวุฒิ และรูปแบบ “1+X” คือเน้นเรื่องวิชาชีพ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียน นักศึกษามีโอกาสเรียนภาษาจีนพร้อมกับวิชาชีพในเวลาเดียวกัน  เพื่อตอบโจทย์ความต้องการกำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ซึ่งปัจจุบัน  ได้มีโครงการ “ภาษาจีน + อาชีวศึกษา” ผลักดันให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (เขต EEC) เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนของจีนทั้งในประเทศจีนและประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อไป

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments