ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า จากความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)และ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช.เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนามาตรฐานอาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาให้เป็นผู้ผ่านการรับรองสมรรถนะอาชีพ เพื่อย้ำความเป็นมืออาชีพที่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด สร้างโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศตามระบบสากล และช่วยขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนของประเทศด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ให้พร้อมต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นั้น สอศ.ได้มอบหมายให้วิทยาลัยเทคนิคนครนายก สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 จัดส่งนักเรียน ปวช. 3 แผนกวิชาช่างยนต์ เข้าทดสอบวัดสมรรถนะอาชีพจากยกระดับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ และการันตีคุณภาพฝีมือช่างไทย ณ วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทราบว่าผลการทดสอบนักเรียนสามารถผ่านการประเมินตามมาตรฐานสมรรถนะที่กำหนด นับเป็นความภาคภูมิใจและเป็นผลสำเร็จที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง
ด้าน ดร.สุกัญญา สุขสถาน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครนายก กล่าวว่า วิทยาลัยเทคนิคนครนายก ได้สนองนโยบายของสอศ. โดยนำนักเรียน ระดัประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 แผนกวิชาช่างยนต์ จำนวน 12 คน ได้แก่ นายประเสริฐ เรืองเทศ นายพงษ์เทพ ยิ้มละ นายพงษ์ศักดิ์ จำนงค์ นายพรหมนารถ ธงศรี นายภาณุพงศ์ เวชสิทธิ์ นายภูริ บัวครุฑ นายรัฐภูมิ นรสิงห์ นายวัชรวรงค์ นิลสุ นายวิจิตรภัณฑ์ นวลอ่อน นายวิษรุจน์ จันทร์ไตย นายศตายุ เฮง นายศิวกร ศรีหัวโทน นายศุภชัย ธงไทยศิริ นายสรยุทธ เรืองวงษ์ นายสายุชน แสงส่ง นายสิทธิศักดิ์ พิชัย นายสุทธิพงษ์ มีคำ นายอัจฉริยะ ประสพศรี และนายอำนาจ ชมเชย เข้าทดสอบประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในสาขาวิชาชีพบริการยานยนต์ สาขารถยนต์ทั่วไป อาชีพช่างซ่อมเครื่องยนต์ คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 2 จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพสถานประกอบการและยกระดับความรู้ ทักษะในสถานประกอบการ และการทำงานของกำลังคนในสถานประกอบการ และผู้เรียนอาชีวศึกษา ผลปรากฏว่า นักเรียนทั้ง 12 คน ผ่านการทดสอบประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การตรวจสอบ และปรับตั้งเครื่องยนต์เบนซินเบื้องต้น การใช้เครื่องมือประจำตัวช่างตามข้อกำหนด การปฏิบัติตนตามระเบียบของสถานประกอบการด้านบริการยานยนต์ การใช้เครื่องมือวัด และเครื่องมือพิเศษในงานบริการยานยนต์ และการตรวจสอบ และปรับตั้งเครื่องยนต์ดีเซล ได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพ บัตรรับรองมาตรฐานอาชีพ และเข็มกลัดมืออาชีพ ทำให้เกิดการยกระดับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ได้รับการยอมรับในความรู้ ทักษะ และความสามารถ เกิดความก้าวหน้าในสายอาชีพ สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศได้