ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องกําหนดตําแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ.2561 ที่ได้ประกาศในราชกิจจาบุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยประกาศดังกล่าวกำหนดให้นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภา และอธิการบดี ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาวิทยาลัยรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) แจงหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ส่งผลให้เกิดเสียงสะท้อนในลักษณะไม่เห็นด้วยและพบว่สมหาวิทยาลัยหลายแก่งกำลังจะประสบปัญหา กรรมการสภามหาวิทยาลัยจะลาออกนั้น

วันนี้ (5 พ.ย.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เร็ว ๆนี้ ตนและศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ จะหารือกับมป.ป.ช.เพื่อขอให้ทบทวนเรื่องดังกล่าวแต่ก็ไม่แน่ใจว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน และขณะนี้ก็ทราบว่ามีภาคเอกชนที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภามหาวิทยาลัย ในสถาบันอาชีวศึกษา มีปัญหาที่จะต้องเปิดเผยทรัพย์สินก็แสดงเจตจำนงจะยื่นลาออกกันจำนวนมาก ทั้งนี้ หากทบทวนไม่ได้ก็ต้องตั้งสติดูว่าจะทำอย่างไรต่อ อย่าเพิ่งให้ตนตอบเพราะการที่ป.ป.ช.ออกมาก็เป็นสิทธิ์ของเขา ตรงนี้ไปบังคับเขาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนมีความสำคัญต่อการศึกษา หากเรื่องนี้ไม่สามารถทบทวนได้จริงทิศทางตอนนี้ก็ชัดเจนว่า เราต้องเดินหน้าต่อเพียงแต่ถ้าภาคเอกชนยังอยู่ช่วยการศึกษาก็จะช่วยให้การเดินหน้าดีขึ้น

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ขอให้ตนได้เจรจากับป.ป.ช.ก่อน ก่อนที่จะให้สัมภาษณ์แล้วกลายเป็นเหมือนมาว่ากันเพราะก็ยังไม่รู้ว่า ป.ป.ช.คิดอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยได้พูดคุยกันมาก่อน พอออกมาก็เลยทำให้เกิดปัญหา  ซึ่งส่วนตัวมองว่าทำเพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นเรื่องดี แต่การแสดงออกถึงความโปร่งใสสามารถแสดงได้หลายแบบ และอาจจะต้องดูด้วยว่าเช่นภาคเอกชนเข้ามามีอำนาจ หน้าที่อะไร ในฐานะอะไร ถ้าจะใช้มาตรฐานเดียวกันเรื่องนี้ ดังนั้น ก็ต้องดูว่าจะทบทวนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ต้องมาดูว่าจะมีวิธีการอื่นหรือไม่ เช่นไปดูว่าต่างประเทศทำอย่างไร หรืออาจจะต้องลองสอบถามองค์การต่อต้านการคอรัปชัน ว่าวิธีการทำให้โปร่งใสนั้น จะต้องใช้วิธีการประกาศทรัพย์สินหรือเปล่า ตรงนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านทุจริตคอรัปชันจะรู้เรื่องดี

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments