เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA )เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนากำลังคนดิจิทัล ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยในพิธีลงนามฯ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ได้มีการลงนามความร่วมมือ 4 หน่วยงาน ได้แก่ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัดบริษัท จอย แอนด์ คอยน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด
ณ สยามสเคป ชั้น 9

เรืออากาศโท สมพร กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)ได้ลงนามความร่วมมือ กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฝึกทักษะและเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนครู อาจารย์  เพิ่มพูนความรู้ความสามารถและสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และ จัดการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย “ไทยแลนด์ 4.0” ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ในการนี้ผมขอขอบคุณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่าย จะได้เข้ามาร่วมมือกันยกระดับคุณภาพ ของการศึกษาระดับอาชีวะของไทยให้มีความรู้ และความก้าวหน้า ให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล  กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้มีการส่งเสริมและให้ทุนสนับสนุน ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ให้กับสถานศึกษาในสังกัด สอศ. จำนวน 13 แห่ง และในปีงบประมาณ2565 ได้ขยายผลส่งเสริมและให้ทุนสนับสนุนวิทยาลัยอาชีวศึกษาของทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล เพิ่มเติมอีกจำนวน 9 แห่ง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ได้รับโอกาสการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อีกทั้งยังสามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต ได้แก่ โครงการศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลระดับอาชีวศึกษา ด้าน IoT จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพแกลง  โครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี  โครงการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ ภาคใต้ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช  โครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้า 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร โครงการศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาทักษะระบบสมองกลฝังตัวและอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี  โครงการศูนย์พัฒนาการเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลระดับอาชีวศึกษาด้าน Coding STEM และ Robotic จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครโคราช  โครงการศูนย์พัฒนานักเรียนอาชีวศึกษาด้าน Coding & IoT เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments