เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) เป็นประธานมอบนโยบายแนวทางการติดตามประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร ของปี พ.ศ. 2564 และมอบโล่รางวัลให้แก่สถานศึกษาที่มีผลการประเมินการดำเนินงานกิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center)  แบบถาวร ประจำปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา ณ ห้องปทุมรัตน์ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี

โดย ดร.สุเทพ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ซ่อมสร้าง เพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินศูนย์ฯ ผลการดำเนินงาน ปี 2564  จำนวน 100 ศูนย์ และชี้แจงทำความเข้าใจรายละเอียดเกณฑ์การประเมินตามคู่มือ ซึ่งผลจากการประเมิน 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับข้อมูลว่าศูนย์ฯ ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใส และยุติธรรม มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร สอศ. ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการให้บริการประชาชน และได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ช่างอาชีวะ (ช่างพันธุ์ R ช่างอาชีวะซ่อมทั่วไทย) ซึ่งเป็นเป็นอีกมิติหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีการเรียนรู้ และปรับตัวในด้านเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงการให้บริการได้สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน

เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อไปว่า ในการดำเนินงานทุกขั้นตอนของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร สอศ. จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับทิศทางของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จึงต้องปรับกลยุทธ์การจัดการศึกษา และฝึกทักษะ ให้เกิดความชำนาญเชี่ยวชาญในวิชาชีพ อีกทั้งยังสร้างจิตสำนึกในการเป็นจิตอาสา ในการให้บริการประชาชน และสังคม ของนักเรียน นักศึกษาอาชีวะ ในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่โลกอาชีพ และตอบสนองความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ

โดยภายในงานได้จัดพิธีมอบโล่รางวัลให้แก่สถานศึกษาที่มีผลการประเมินการดำเนินงานกิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) แบบถาวร ประจำปีงบประมาณ 2563  ซึ่งมีสถานศึกษาผ่านการประเมิน จำนวน 25 สถานศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ภาค ดังนี้
– ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร   รางวัลชนะเลิศ (สถานศึกษาต้นแบบ) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 (สถานศึกษาพัฒนาดีเด่น) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 (สถานศึกษาพัฒนา) ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพนายายอาม รางวัลชมเชย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรีและ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
– ภาคเหนือ  รางวัลชนะเลิศ (สถานศึกษาต้นแบบ) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 (สถาศึกษาพัฒนาดีเด่นได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 (สถานศึกษาพัฒนา)ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคน่าน รางวัลชมเชย ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพบ้านตากและวิทยาลัยการอาชีพ   นวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รางวัลชนะเลิศ (สถานศึกษาต้นแบบ)ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 (สถานศึกษาพัฒนาดีเด่น) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 (สถานศึกษาพัฒนา) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ รางวัลชมเชย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ และวิทยาลัยการอาชีพศรีบุญเรือง
– ภาคกลาง รางวัลชนะเลิศ (สถานศึกษาต้นแบบ) ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพบ้านลาด รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 (สถานศึกษาพัฒนาดีเด่น) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 (สถานศึกษาพัฒนา) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง รางวัลชมเชย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรีและ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
– และภาคใต้ รางวัลชนะเลิศ (สถานศึกษาต้นแบบ) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 (สถานศึกษาพัฒนาดีเด่น) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 (สถานศึกษาพัฒนา) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช รางวัลชมเชย ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยเทคนิคตรัง

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments