เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ที่ห้องประชุม สพฐ.1 สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 4 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ”โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์ด้วยหลักการของปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา”ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย(Dow)และสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี

โดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า การจัดการศึกษาภายใต้ข้อจำกัดโดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณ เพราะสพฐ.มีโรงเรียนที่ต้องดูแลมากกว่า 35,000 แห่ง ทำให้มีงบประมาณไม่เพียงพอในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้โรงเรียนต่างๆ ประกอบกับปัจจุบัน สังคมต้องการคนที่มีความพร้อม มีสมรรถนะ เพื่อต่อยอดเรียนรู้เรื่องต่างๆ ให้ดีขึ้น และ สพฐ.ได้เห็นความสำคัญกับการยกระดับการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งการนำเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับครูและนักเรียน ซึ่งมีผลเทียบเท่ากับการเรียนในห้องแล็ปปกติ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างครบถ้วน เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมาก ซึ่งชุดปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนสำหรับโรงเรียนนี้  จะสร้างประโยชน์ใน 4 ภาคส่วน คือ ผู้เรียน ที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้เกิดสมรรถนะ ครู ที่สามารปรับการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับปัจจุบันสร้างสมรรถนะให้ผู้เรียนมากขึ้น  ฝ่ายบริหาร ที่สามารถจัดการอุปกรณ์การเรียนการสอนในราคาจับต้องได้ และสังคมโดยรวม ได้ต้นทุนมนุษย์ที่มีสมรรถนะและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อว่าถ้านวัตกรรมนี้สามารถส่งต่อให้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล โรงเรียนขยายโอกาส จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหารกลุ่ม ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า การที่สพฐ.ให้ความสนใจส่งเสริมการเรียนรู้แนวใหม่ จะช่วยให้โรงเรียนจำนวนมากสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงได้อย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม กลุ่มบริษัท ดาว ฯ ในฐานะผู้ร่วมริเริ่มโครงการห้องเรียนเคมีดาว มีความยินดี และชื่นชมที่สพฐ.เล็งเห็นความสำคัญของการทดลองแบบ”ย่อส่วน”เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งจะเป็นประโยขน์อย่างยิ่งกับการพัฒนาบุคคลากรด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยในอนาคต

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments