เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2565 ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) มอบหมายให้ เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการ กอศ. พร้อมด้วย ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา (สวพ.) และคณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ลงพื้นที่ติดตามผลพร้อมส่งมอบนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ให้กับวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสาน ผัง 16 บ้านคำวังยาว ในโครงการเขื่อนสิรินธรโมเดล ในบริเวณรอบเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับนายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
เรืออากาศโท สมพร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาในมิติเชิงพื้นที่ ของวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี ร่วมกับเครือข่ายโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อนำสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม จากครูและนักเรียน นักศึกษา จำนวน ทั้งสิ้น 23 ชิ้นงาน มามอบให้แก่วิสาหกิจชุมชน ในบริเวณรอบชุมชนเขื่อนสิรินธร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน 2565 และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อชาวอาชีวศึกษา ทั้งนี้ การดำเนินการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อชุมชนนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา (สวพ.) สอศ. กล่าวว่า การดำเนินการตามโครงการดังกล่าวนี้ เป็นการนำเอาองค์ความรู้ด้านการอาชีวศึกษา ที่ผ่านการบูรณาการในด้านต่างๆและกระบวนการสังเคราะห์แนวคิดการแก้ปัญหาจากการประกอบอาชีพ การคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อช่วยสร้างและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ของชุมชน ซึ่งเป็นการดําเนินการที่สําคัญ ในการพัฒนาและยกระดับอาชีพของชุมชน สังคม ให้ส่งผลต่อการหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางให้มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับเศรษฐกิจไทยในอนาคต สอดคล้องตามนโยบายของ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติด้วย
สำหรับนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจในกิจกรรมนี้ เช่น เครื่องอบข้างฮางงอก ซึ่งมีจุดเด่น ในการรวม 4 กระบวนการของการผลิตข้าวฮางงอกมาอยู่ในเครื่องเดียวกัน ได้แก่ การล้าง แช่ บ่ม และนึ่ง ในส่วนของระบบนั้นสามารถควบคุมอุณหภูมิในการผลิตได้ มีระบบแสดงผลและตรวจสอบอุณหภูมิในระหว่างกระบวนการผลิต และใช้ชนวนกันความร้อนหุ้มรอบถังเพื่อสะสมและเก็บความร้อนรอบถัง มีระบบตัดแก๊สอัตโนมัติ พร้อมระบบแสดงผลด้วยLed และเสียง รวมทั้งมีระบบการคัดแยกข้าวเปลือกโดยใช้ใบพาย ให้สามารถคัดแยกเมล็ดข้าวลีบที่ไม่ได้มาตรฐานลงสู่ช่องปล่อยข้าวตามแรงโน้มถ่วงของโลก และที่สำคัญคือ กระบวนผลิตตรงตามมาตรฐาน มกษ.4004 -2555 ซึ่งเครื่องอบข้าวฮางงอก สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ โดยช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวเปลือกจาก กก.ละ 5-10 บาท