ว่าที่ร้อยตรี ดร.จิรายุทธิ์ อ่อนศรี ครูชำนาญการ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า นวัตกรรม “เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัยเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร” เป็นผลงาน ของทีม ว่า ทีม NWM..Safety Road 3 Plus ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ร่วมกันออกแบบ และสร้างด้วยกระบวนการ Design Thinking ผสมผสานกับ บูรณาการ STEM Education โดยมีผู้พัฒนาประกอบด้วย 1. นายวุฒิธนา สิงเหิน นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 (ปวช. 3) แผนกอิเล็กทรอนิกส์ และ2. นายภาณุวัฒน์ คำเงิน นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. 3)แผนกไฟฟ้ากำลัง ซึ่งมีตนเป็นที่ครูที่ปรึกษาโครงการฯ โดยเมื่อเร็วนี้ ๆ (30 มกราคม 2565) นวัตกรรมดังกล่าวได้รับรางวัลชนะเลิศ พร้อมโล่ เกียรติบัตร และเงินรางวัลจำนวน 80,000 บาท ประเภทอาชีวศึกษา ในโครงการ Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation จากการสนับสนุนของกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จากโจทย์เริ่มต้นในการดำเนินการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และสังคมในวงกว้าง
ว่าที่ร้อยตรี ดร.จิรายุทธิ์ กล่าวต่อไปว่า “เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมกนิรภัยเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร” เป็นวัตกรรมที่ออกแบบและสร้าง โดยการศึกษาการพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการ Design Thinking ซึ่งได้ลงพื้นที่ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานกับชุมชน Empathize ปัญหา และแนวปฏิบัติของประชาชนและชุมชนในพื้นที่ พบว่ามีปัญหาน้ำคลองที่ไม่สะอาด ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาการจราจรที่ติดขัด ปัญหาการไม่สวมหมวกนิรภัย และการทำความสะอาดหมวกนิรภัยที่ยากลำบากของประชาชน
จากข้อมูลที่ได้มา มาดำเนินการวิเคราะห์และสังเคราะห์จัดประเภทของข้อมูล Define และจัดทีมนักเรียน และครูที่ปรึกษาร่วมกันระดมสมอง Ideate และนำความรู้ ความสามารถและทักษะปฏิบัติในวิชาชีพมาใช้ โดยหวังใจว่าสามารถน่าที่จะพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชนได้สำเร็จ โดยตั้งเป้าที่จะแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะของสุขภาพด้านการป้องกันเชื้อโรคจากหมวกนิรภัย และคำนึงถึงการสวมหมวกนิรภัยเพื่อลดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงได้ พร้อมกันนี้นวัตกรรมดังกล่าว ได้ผ่านการกระบวนการทดลองใช้ จากการนำเสนอโครงการเข้าประกวดข้างต้น โดยได้พัฒนากระบวนการของผลงานและทดลองใช้เป็นระยะเวลา 4 เดือน
นายวุฒิธนา กล่าวว่า ทีมได้ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสำรวจ และขอความคิดเห็น และรับฟังเสียงสะท้อนถึงนวัตกรรมที่จะสามารแก้โจทย์ปัญหาได้ จากนั้นจึงได้ร่วมกันออกแบบและสร้างเครื่องเครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัยเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร นวัตกรรมดังกล่าวมีลักษณะเป็นเครื่องที่เป็นตู้ มีขนาด ความสูง 106 เซนติเมตร กว้าง 55 เซนติเมตร และมีความลึก 54 เซนติเมตร จำนวน 2 ชั้น สามารถควบคุมการทำงานด้วยโปรแกรมระบบควบคุมอัติโนมัติอิเล็กทรอนิกส์
กระบวนการทำงานของตัวนวัตกรรมสามารถตั้งระยะเวลาในการทำงานได้ 3 STEP ประกอบด้วย 1) ตั้งระยะเวลาแบบเร็ว 3 นาที 2) ตั้งระยะเวลาปานกลาง 6 นาที และ 3) ตั้งระยะเวลา 10 นาที แสดงผลการทำงานด้วยจอแสดงผล LCD แสดงสภาวะการทำงานด้วยสัญญาณไฟสีเขียว และหยุดการทำงานด้วยสัญญาณไฟสีแดง อาศัยดูดอากาศมาทำปฏิกิริยากับหลอดโอโซนและทำงานเชื่อมโยงกับหลอด UVC ร่วมกันในการทำลายเชื้อโรคได้อย่างมีคุณภาพ
นายภาณุวัฒน์ เล่าเพิ่มเติมว่า ตนและครูจิรายุทธิ์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาได้ร่วมกันวิเคราะห์ผลการกำจัดเชื้อโรคในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา เพื่อหาผลของการฆ่าเชื้อโรคก่อน และหลังการใช้งาน พบว่ามีความน่าเชื่อถือในห้องปฏิบัติการสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวเครื่องสามารถติดตั้งในพื้นที่ทุกแห่งที่มีกระแสไฟฟ้า เพียงแค่เสียบปลั๊กไฟ ก็พร้อมในการใช้งานเพื่อป้องกันเชื้อโรค และสร้างความมั่นใจในการอยากสวมหมวกนิรภัยของประชาชนเพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้
สนใจนวัตกรรม “เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัยเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร” ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จิรายุทธิ์ อ่อนศรี เบอร์โทร 087–989-1956