เมื่อวันที่  21 มกราคม 2565 ที่โรงเรียนวัดวังหลวง จังหวัดลำพูน ..ตรีนุช เทียนทองรมว.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทานโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด  ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” (เครือข่ายอารยลุ่มน้ำลี้),รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา , นายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ, ดร.อัมพร พินะสาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และ คณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโคก หนอง นาแห่งน้ำใจและความหวัง” (เครือข่ายอารยลุ่มน้ำลี้) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ลำพูน เขต 2

โดย ..ตรีนุช กล่าวว่า โครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังมีวัตถุประสงค์ในการประยุกต์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ ทฤษฎีใหม่ ในแบบชาวบ้าน ผ่านการปั้นโคก ขุดหนอง ทำนาซึ่งเป็นการสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก และสามารถดำเนินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐานแนวความคิด ฝึกวินัย ลงมือปฏิบัติ รวมถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในท้องถิ่นสู่การเรียนรู้ในสถานศึกษาให้เกิดผลในมิติต่างๆ ทั้ง การพึ่งพาตนเอง  ความกตัญญู การพัฒนาจิตใจ การพัฒนาทางปัญญา รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้น้อมนำโครงการฯมาปฏิบัติ โดยคัดเลือกสถานศึกษานำร่อง ระยะที่ 1 จำนวน 102 โรงเรียน และประสานความร่วมมือกับ ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน , ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง, โรงเรียนปูทะเลย์  มหาวิชชาลัย, และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่สถานศึกษาที่เป็นพี่เลี้ยง และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตลอดจนการตรวจเยี่ยม สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้สถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และมีแนวทางที่ชัดเจน สำหรับนำมาพัฒนาจัดระบบการเรียนการสอนผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการศึกษาทุกภาคส่วน อย่างเหมาะสมกับภูมิสังคมและบริบทของแต่ละท้องถิ่น ทำให้นักเรียนสามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นที่พึ่งของชุมชนได้..ตรีนุช กล่าวและว่า ตนมีนโยบายให้การสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่าง   เพื่อให้โครงการอารยเกษตรฯ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์  ด้วยการพลิกโฉมการจัดการศึกษา ทั้งในมิติการบริหารโครงการและมิติวิชาการ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาสมรรถนะเยาวชน ให้เป็นอารยเยาวชนไทยตามแนวทางพระราชทาน ให้เด็กและเยาวชน สร้างเสริมวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีวิต โดยมีความรู้และคุณธรรม  เป็นคนดีมีระเบียบวินัย รับผิดชอบตัวเองได้  พึ่งพาตัวเองได้ เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม  มีความกตัญญูกตเวที  มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี พร้อมเป็นฮีโร่ของชุมชน และประเทศชาติ  ทั้งนี้ ข้าพเจ้าและบุคลากรของ ศธ.ทุกคน สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้และจะทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ในการร่วมกันดำเนินงานโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติสืบไป

น.ส.ตรีนุช กล่าวด้วยว่า นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนในโครงการอารยเกษตรฯ หากสนใจเรียนต่อสายวิชาชีพสามารถเข้าร่วมโครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ ของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ โดยที่จังหวัดลำพูน มีถึง 3 วิทยาลัยอาชีวะที่น้อง สามารถเข้าร่วมได้ และเรื่องนี้ยังเป็นการเชื่อมต่อ ที่กระทรวงศึกษาธิการตั้งใจแก้ปัญหาเด็กตกหล่นทางการศึกษา เป็นการทำงานแบบบูรณาการอย่างครบวงจร เพราะเราไม่ต้องการทิ้งน้อง คนใดไว้ข้างหลัง.

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments