เมื่อเร็วๆ นี้ .สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) พร้อมด้วย ..นุชนภา รื่นอบเชย ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนและการบริการชุมชนของวิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมตรวจเยี่ยมการดำเนินการของโรงพยาบาลสนามสำหรับคนในชุมชน เทศบาลเมืองไร่ขิง (Community Isolation) ซึ่งสามารถดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 150 เตียง   อาคารปฏิบัติธรรม เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชนีวัดไร่ขิง พระอารามหลวง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย โดยนายกสภามหาวิทยาลัยและท่านอธิการบดีได้ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในลักษณะดังกล่าวในวิทยาเขตและวิทยาสงฆ์ทั่วประเทศ ของมจร.จำนวน 17 แห่ง และได้จัดตั้งโรงทาน เพื่อเป็นแหล่งเสบียงให้กับโรงพยาบาลสนามและบุคลากรทางการแพทย์ พระภิกษุ สามเณร และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส โควิด– 19 อีก 16 แห่ง

.สัมพันธ์ กล่าวว่า จากการเยี่ยมชมการดำเนินการครั้งนี้ นอกจากได้มีมาให้กำลังใจบุคคลกรของวิทยาลัยที่ร่วมมือกับชุมชนในการดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามสำหรับคนในชุมชน เทศบาลเมืองไร่ขิง (Community Isolation) แล้วยังมีได้เยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และการบริการวิชาการส่วนต่างๆของวิทยาลัย ถือได้ว่าวิทยาลัยสงฆ์นี้มีความก้าวหน้าและเข้มแข็งมาก ในหลายๆ โครงการวิทยาลัยสามารถทำเป็น Best Practice เพื่อเป็นตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติที่ดี่ให้แก่สถาบันหรือองค์กรอื่นๆได้เรียนรู้ร่วมกัน เช่น เรื่องการออมของนิสิต นักศึกษา ถือว่าสามารถแก้ปัญหาการกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้อีกมุมหนึ่งเช่นเดียวกัน การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ขอชื่นชม อาจารย์สามารถออกแบบคอร์สในการสอนออนไลน์ได้ตรงประเด็น และสามารถอธิบายทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของการสอนแบบออนไซต์ (Onsite) และออนไลน์ (Online) ได้ แสดงให้เห็นว่าผู้สอนเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและเข้าใจในบริบทการเรียนการสอนเป็นอย่างดี

เลขาธิการ กกอ. กล่าวอีกว่า สำหรับด้านการประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยมีความพยายามที่จะขับเคลื่อนตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อให้สะท้อนภาพการดำเนินงานที่มีคุณภาพของวิทยาลัย  ประกอบกับขณะนี้กระทรวงฯ กำลังเร่งจัดทำแนวทาง วิธีการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพ  เพื่อเป็นการยืนยันต่อสังคมว่า แม้จะมีการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์สถาบันอุดมศึกษาก็สามารถส่งมอบบัณฑิตออกไปสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ มีหลายเรื่องที่กระทรวงอยากทำ บางเรื่องอาจจะลดทอนเอกสารมากยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลงตัวชี้วัดอาจจะแม่นยำขึ้น ทางกระทรวงก็มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้นำไปปฏิบัติต่อไป.

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments