เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2564 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการประชุม ถึงความพร้อมในการผลักดันนโยบายการผลิตและพัฒนากําลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติของ ศธ. โดย สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับสถาบันคุณวุฒิ วิชาชีพ (สคช.)องค์การมหาชน ได้จัดประชุมหารือ “การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework: NQF) ในสาขาอาชีพที่เป็นความจําเป็นเร่งด่วน ผ่านระบบออนไลน์
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า การดําเนินการครั้งนี้เป็นความร่วมมือในการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องตาม “แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากําลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565 ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรการจัดการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ให้สอดคล้องและยึดโยงกับ มาตรฐานอาชีพ ผ่านความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน คือ สกศ. สอศ. และ สคช. โดยมี ดร.อํานาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธาน การประชุม โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สกศ. สอศ. และ สคช. และผู้อํานวยการสถานศึกษาสังกัด สอศ. จํานวน ๘ แห่ง ไดแก่ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี และวิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีสุพรรณบุรี
“ที่ประชุมได้ร่วมกันกําหนดแนวทางดําเนินงานปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยการเทียบเคียง หลักสูตรกับมาตรฐานอาชีพของหน่วยงานในประเทศและมาตรฐานสากล อันจะนําไปสู่ระบบสะสมหน่วยกิต โดยมี การวางหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดการยอมรับร่วมกัน และนําไปสู่การขึ้นทะเบียนรับรอง หลักสูตร ทั้งนี้ สอศ.จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยรวมกับ อ.กรอ.อศ. สกศ. สคช. และสถานศึกษาที่เป็นฝ่ายเลขานุการทั้ง ๘ แห่ง รวมถึงสถานศึกษาอื่น ๆ ที่จะเข้าร่วมเป็นศูนย์บริหาร เครือขายการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management: CVM) รวมทั้งสิ้น 25 แห่ง รวมถึงการกําหนดแนวทางการพัฒนาครู และวัสดุครุภัณฑ์ ให้มีความพร้อม และ มีการทดลองนําร่องใช้หลักสูตรอย่างน้อย 1 ภาคเรียน หรือ 1 ปีการศึกษา ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวสอดคล้อง กับเป้าหมายสําคัญในการขับเคลื่อนงานกรอบคุณวุฒิแหงชาติของคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ที่มี ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ คือ การขึ้นทะเบียนหลักสูตรที่สอดคล้องกับ มาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ซึ่งคาดหมายว่า หลักสูตรทั้ง 8 สาขาอาชีพที่มีความจําเป็นเร่งด่วน ของ 8 สถานศึกษาข้างต้น จะเป็นหลักสูตรต้นแบบให้สถานศึกษาอื่นเห็นถึงความสําคัญของการยึดโยงรายวิชากับ มาตรฐานอาชีพ อันจะนําไปสู่ต้นแบบการวางระบบการเทียบโอนและสะสมผลลัพธ์การเรียนรู้และประสบการณ์ตาม กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติต่อไป”รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามคาดว่าจะสามารถดําเนินการพัฒนาหลักสูตรให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2564 นี้ โดยมีกลุ่มสาขาอาชีพที่มีการดําเนินการแล้ว 4 สาขาอาชีพ ไดแก้ (1) แม่พิมพ์ (2) โลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน (ระบบราง) (3) ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และ (4) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยกระทรวงศึกษาธิการถือเป็นวาระเร่งด่วน (Quick Win) และดําเนินการขึ้นทะเบียนหลักสูตรที่สอดคล้องกับ มาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อเป็นต้นแบบการดําเนินงานของสาขาอาชีพอื่น ๆ ต่อไป