นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา ครั้งที่8/2563 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงแผนการจัดการศึกษาเพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนตามช่วงวัย(พ.ศ.2563-2570) ว่าตอนนี้เราต้องมาดูว่าแนวทางความคิดและตอบโจทย์การพัฒนาคนจะสามารถทำได้อย่างไร ซึ่งคณะกรรมการสภาฯได้วางกรอบแนวทางการผลิตและพัฒนาตามช่วงวัยออกเป็น 4 ช่วงวัย คือ ปฐมวัย วัยเรียน/วัยรุ่น วัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุ โดยวัยของเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า6ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับการพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษาโดยการพัฒนาหลักสูตร สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่บูรณาการสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานและอาชีพสร้างการรับรู้เห็นคุณค่าและแรงบันดาลใจในการทำงานและอาชีพส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้เห็นคุณค่าและแรงบันดาลใจเรื่องการทำงานและอาชีพให้เด็กปฐมวัย และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพัฒนากำลังคนตามช่วงวัยจัดทำฐานข้อมูลและสารสนเทศเด็กปฐมวัยพัฒนาระบบส่งต่อเด็กปฐมวัยสู่ระดับประถมศึกษา จัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรับรู้เห็นคุณค่าและการสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการทำงานและอาชีพพัฒนาครูและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้สามารถบูรณาการสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานและอาชีพ อีกทั้งต้องส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทในการพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดให้มีเครือข่ายการพัฒนาการสร้างการรับรู้เห็นคุณค่าของเด็กวัยนี้ด้วย

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า กรอบแนวทางการผลิตและพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น ผู้เรียนที่มีอายุระหว่าง 7-22 ปีที่เข้ารับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาหลักสูตรเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อม(แอคทีฟ เลินนิ่ง อัพสกิว รีสกิว ทวิภาคี)พัฒนาระบบการวัดและประเมินผล ที่มุ่งเน้นสมรรถนะ จัดให้มีระบบการแนะแนววัดความถนัดทางอาชีพเพื่อให้มีข้อมูลและเตรียมพร้อมในการเข้าสู่อาชีพได้ตามความสนใจ สร้างแรงจูงใจสร้างค่านิยมให้ผู้ปกครองและผู้เรียนสนใจเรียนสายอาชีพ สนับสนุนให้ผู้อยู่นอกระบบการศึกษา ผู้พลาดหรือผู้ขาดโอกาสรวมถึงผู้ขาดแคลนและผู้พิการ มีโอกาสได้รับบริการศึกษา การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเข้าอาชีพ เป็นต้น

วัยแรงงานอายุตั้งแต่ 15-59 ปี ทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ รวมทั้งแรงงานคนพิการ ต้องยกระดับความรู้ความสามารถทักษะและสมรรถนะของวัยแรงงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นผู้ประกอบการ สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ยกระดับผู้ประกอบการให้มีศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลกสร้างศักยภาพให้ผู้ที่เคยกระทำผิดสามารถประกอบอาชีพได้ พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่กำหนดสมรรถนะที่คาดหวังให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ความต้องการแรงงานตามกลุ่มอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่สามารถส่งเสริมให้กำลังคนวัยแรงงานเทียบโอนประสบการณ์เพื่อให้ได้รับคุณวุฒิการศึกษาสูงขึ้นหรือได้รับมาตรฐานอาชีพคุณนวุฒิวิชาชีพมาตรฐานฝีมือแรงงาน พัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่สอนพร้อมพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและครูมืออาชีพและเป็นครูมืออาชีพ เป็นต้น

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า สำหรับ ผู้สูงอายุ ประชากรที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปีซึ่งจัดเป็นผู้สูงอายุ จะต้องมีการพัฒนาทักษะอาชีพผ่านการศึกษา การฝึกอบรมในรูปแบบที่หลากหลาย ฝึกอาชีพฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย จัดทำต้นแบบการดูแลสุขภาพควบคู่การมีงานทำเพื่อการพึ่งพาตนเอง พัฒนาหลักสูตรเพื่อการมีงานทำเพื่อการพึ่งพาตนเอง สนับสนุนผู้สูงอายุเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพสร้างความตระหนักและการเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำและได้รับค่าตอบแทนขั้นต่ำตามกฏหมายอย่างเหมาะสม พัฒนาระบบกลไกเพื่อสนับสนุนผู้สูงอายุเพิ่มรายได้และควบคุมค่าใช้จ่ายส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลศักยภาพและสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาครูผู้สูงอายุให้มีทักษะในการถ่ายทอดองค์ความรู้แ ละทักษะที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุปรับอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นให้ต่อการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุได้ตามบริบทและความพร้อมปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการจ้างงานผู้สูงอายุให้ทำงานที่เหมาะสมกับวัยได้

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments