เมื่อวันที่ 25  พฤศจิกายน 2563 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์  กรุงเทพมหานคร นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ  รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.)กล่าวปาฐกถาพิศษ  “โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยกับการพัฒนาต้นแบบการจัดการศึกษาของประเทศไทย”  ในพิธีเปิดงาน “10 ปี การพัฒนาต่อยอดโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามอุดมการณ์” ว่า จากที่เห็นผลงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง  ตนขอขอบคุณมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ และช่วยสร้างเยาวชนที่มีความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม  อย่างไรก็ตามตนอยากจะสร้างความท้าทาย ในการยกระดับการเรียนการสอนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ ให้แข็งแรงมากกว่านี้  เพราะเด็กและเยาวชนโรงเรียนนี้ถือเป็นหัวกะทิ ของประเทศ  แต่เราต้องถามตัวเองว่า เยาวชนเหล่านี้สามารถยืนอยู่ระดับต้นๆของโลกได้หรือไม่  วันนี้ตนเห็นผลงานการแข่งขันของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จในหลาย ๆ เวที แต่เราจะต่อยอดเพื่อทำประโยชน์ให้ประเทศได้หรือไม่ นั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า นักเรียนที่จบจากโรงเรียนแห่งนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นจำนวนมาก  ตนอยากให้นักเรียนต่อยอดทำประโยชน์ให้ประเทศต่อไป นอกเหนือจากการสร้างความเป็นเลิศของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ โดยคิดว่าครูและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน ต้องนึกถึงโรงเรียนอื่น ๆ ที่อาจจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ เช่น โรงเรียนที่อยู่ใกล้กับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ หรือ ชุมชนที่ต้องการความรู้เพิ่มเติม เพราะโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ สามารถสนับสนุน และแชร์อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่โรงเรียนอื่นได้  ซึ่งจะทำให้ประเทศได้รับประโยชน์มากขึ้น ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ  และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)  ต้องกลับมาตั้งโจทย์ว่า จะนำโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯทั้ง 12 แห่ง และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มาวางแผนเพื่อต่อยอดพัฒนาโรงเรียนอื่นๆ รวมถึงโจทย์ว่า การใช้งบฯในการพัฒนาโรงเรียนทุกจังหวัด จะสามารถสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้มากขึ้นหรือไม่

“ ผมหวังว่า ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ จะนำตัวอย่างที่ดีในการบริหารจัดการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ไปต่อยอด สร้างเยาวชนที่เก่งในทุกด้านให้กับประเทศต่อไป ซึ่งในมุมมองของผมคิดว่า โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ ยังสามารถพัฒนาได้อีก เราต้องไม่หยุดการพัฒนา โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับต่างประเทศ”นายณัฏฐพล กล่าว

ด้าน คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนประทับใจและขอชื่นชมโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯทั้ง 12 แห่ง ที่สามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ความสามารถระดับประเทศและนานาชาติได้ และจากนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ที่อยากให้ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์​ ไปพัฒนาโรงเรียนรอบข้าง นั้น  ตน และ สพฐ.ได้มอบให้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ฯ ไปช่วยโรงเรียนน้องกว่า 100 แห่งแล้ว และจะให้เพิ่มการพัฒนามากขึ้นในโครงการ “วิทยาศาสตร์กำลัง 10” ที่จะพัฒนาโรงเรียนรอบข้างเป็นร้อยหรือพันแห่ง  โดยจะเน้นเข้าไปช่วยพัฒนาพื้นฐานทางเทคโนโลยี และพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้นักเรียน ชั้น ม.4-ม.6 ต่อไป

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments