เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 นายอัมพร พินะสา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการรับมอบงานในตำแหน่งเลขาธิการ กพฐ. ว่า ตนมีโจทย์หรือความท้าทายในการทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน(สพฐ.)  คือ ความคาดหวังของสังคมที่ต้องการเห็นการศึกษาพื้นฐานเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนเพื่อให้คนไปพัฒนาชาติ ซึ่งมีตัวแปรสำคัญ คือ ความต้องการคนที่มีสมรรถนะ มีทักษะในการดำรงชีวิต เป็นคนดี เป็นคนเก่ง รวมถึงมีทักษะในการแข่งขัน  โดยมีเป้าหมายในการสร้างคนเพื่อเชื่อมต่อไปยังอาชีวศึกษาและการมีงานทำ

“เมื่อผมเข้ามาดูแล สพฐ.ก็มีความคิดว่า จะทำอย่างไรที่จะให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาให้มีคุณภาพใกล้เคียงกันทั้งประเทศ แต่ตอนนี้เรามีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก ที่มีข้อจำกัดเรื่องครู เทคโนโลยี สื่อการเรียนการสอน แต่ในข้อจำกัดนั้นถ้าเราสามารถเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ ภาครัฐ เอกชน จะทำให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ ถ้าหากทุกโรงเรียนเน้นเรื่องการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหานำไปสู่เด็กที่มีคุณภาพ ผมเชื่อว่าโรงเรียนน่าจะได้นวัตกรรมที่ดีและส่งเสริมเด็กได้ ดังนั้น สพฐ.จะส่งเสริมให้โรงเรียนพึ่งพาตนเองและขยับคุณภาพด้วยตนเอง โดยจะเข้าไปสนับสนุนเรื่องการพัฒนาครู อัตรากำลังครู รวมถึงปลดล็อกระเบียบกฎหมายที่เป็นอุปสรรค”เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า ต่อไป สพฐ.จะต้องลดบทบาทในการนำครู หรือ การบริหารจัดการโครงการต่าง ๆ เอง แล้วเปลี่ยนเป็นกำกับติดตาม ประเมินผล เพื่อให้ครูได้อยู่กับเด็กมากขึ้น ที่สำคัญจะต้องไม่ทิ้งโรงเรียนที่มีความจำเป็นต้องคงอยู่อย่างโรงเรียนบนพื้นที่สูง พื้นที่ห่างไกล บนเกาะแก่ง หรือต้องอยู่แบบสแตนอโลนก็ต้องได้รับการดูแลส่งเสริมให้คงอยู่อย่างมีคุณภาพด้วย

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments