นายนัทธพลพงศ์ จิวัจฉรานุกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด (โรงพิมพ์รุ่งศิลป์) กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า พล...เพิ่มพูน ชิดชอบรมว.ศึกษาธิการ แสดงความพึงพอใจต่อสถิติการผลิตหนังสือเรียน องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และอ้างว่าประหยัดงบประมาณสูงสุดในรอบ 10 ปี เป็นจำนวนเงินกว่า200 ล้านบาท ว่า สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการสื่อสารออกมานั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และจงใจใช้ข้อมูลด้านเดียวมาสร้างความชอบธรรมให้กับกระบวนการจัดจ้างพิมพ์ตำราแบบเรียนปี 2568 ที่ขณะนี้ถูกร้อง และถูกฟ้องเป็นคดีอยู่ในศาลและองค์กรตรวจสอบต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นการใช้งบประมาณที่ลดลงเป็นประวัติการณ์นั้น ก็เนื่องจากคณะกรรมการ สกสค.ที่ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน กำหนดงบประมาณไว้สูงกว่าความเป็นจริง จึงไม่แปลกที่การจัดจ้างตามสัญญาที่ต่ำลงถึงเกือบ 20%

กระทรวงศึกษาธิการพยายามตีกิน นำเสนอข้อมูลด้านเดียว ทำให้สังคมเข้าใจผิด ทั้งที่ในความเป็นจริง ท่านเพิ่มพูน เป็นผู้อนุมัติงบประมาณที่สูงกว่าความเป็นจริง และควรตรวจสอบดูทั้งการอนุมัติงบประมาณ และการจัดทำราคากลางว่า เหตุใดถึงมีการตีโปร่งขึ้นไปถึง 20%“ นายนัทธพลพงศ์ ระบุ

นายนัทธพลพงศ์ กล่าวต่อว่า แล้วยิ่งหากเปรียบงบประมาณต่อจำนวนหนังสือที่องค์การค้าของ สกสค.จะได้รับ จะยิ่งไม่สามารถแอบอ้างว่าเป็นการใช้งบประมาณที่คุ้มค่าได้เลย เปรียบเทียบระหว่างปี 65 งบประมาณสูงกว่าเพียง 90 ล้านบาทแต่ผลิตหนังสือได้มากกว่า 31 ล้านเล่มแต่ปี 68 ตั้งงบไว้ถึง 1,060 ล้านบาท แต่ผลิตหนังสือเพียง 26.9 ล้านเล่มเท่านั้น ซึ่งต้องไม่ลืมว่าปี 65 มีสงครามรัสเซียยูเครน ทำให้วัตถุดิบมีราคาสูงกว่าปัจจุบันถึง 30% ส่วนปีนี้ราคากระดาษในตลาดโลกลดลงไปอย่างมาก และยังมีการลดคุณภาพวัตถุดิบลง เช่น เปลี่ยนจากกระดาษปอนด์เป็นปรู๊ฟและลดแกรมกระดาษจาก 70 เหลือ 64 แต่งบประมาณต่อเล่มก็ยังสูงขึ้นอีก ซึ่งการลดคุณภาพเหล่านี้ต้นทุนจะหายไปอีกไม่น้อยกว่า 10%

ต้องถามไปถึงบอร์ด สกสค. ที่ท่าน รมว.ศึกษาฯ นั่งเป็นหัวโต๊ะว่า ในเมื่อจำนวนแบบเรียนปี 68 ลดลงหลักล้านเล่ม มีการลดสเปกกระดาษ ราคากระดาษก็ลดต่ำลงมากแล้วทำไมจึงกำหนดงบประมาณสูงกว่าเดิม และสูงมากเมื่อเทียบราคาต่อเล่ม จึงทำให้เรื่องที่ รมว.ศึกษาฯภาคภูมิใจ และออกมาเยินยอ เพราะคิดว่าไม่มีใครรู้ตื้นลึกหนาบางนายนัทธพลพงศ์ กล่าว.

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments