เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พร้อมด้วย นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 โดยมี นายวิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. นายวินัย รอดจ่าย และนางสุกัญญา งามบรรจง รองประธานคณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 นายณัฐกร วุฒิชัยพรกุล อุปนายกฝ่ายในประเทศ สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ร่วมแถลงข่าว ณ บริเวณสวนวันครู หน้าอาคาร สพฐ. 1 กระทรวงศึกษาธิการ
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของหนังสือและการอ่านว่าเป็นทักษะพื้นฐานและเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาความคิดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการในการเรียนรู้องค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองทั้งในด้านการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวันที่ดีขึ้นในสังคมอย่างมีความสุข จึงได้ดำเนินการจัดประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ร่วมกับสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประพันธ์ ผู้วาดภาพประกอบ ผู้จัดพิมพ์ สำนักพิมพ์ และทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีส่วนร่วมในการผลิตหนังสือที่มีคุณภาพและสารประโยชน์เผยแพร่สู่สาธารณชนเพิ่มมากขึ้น
การประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 เป็นการประกวดหนังสือที่พิมพ์โฆษณาเป็นเล่มบริบูรณ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2567 ในปีนี้มีผู้ประพันธ์ ผู้จัดพิมพ์ และหน่วยงานต่างๆ ร่วมส่งหนังสือประกวดรวมจำนวนทั้งสิ้น 322 เรื่อง แยกเป็นกลุ่มหนังสือต่างๆ ได้แก่ หนังสือสารคดี หนังสือนวนิยาย หนังสือกวีนิพนธ์ หนังสือรวมเรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6 – 11 ปี หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 – 18 ปี หนังสือการ์ตูน และ/หรือนิยายภาพ และหนังสือสวยงาม
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 จะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลในพิธีเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 23 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และพระราชทานพระราชวโรกาสให้นำผู้ชนะการประกวดหนังสือดีเด่นเข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัล ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
สำหรับผลการพิจารณาตัดสินหนังสือให้ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2568 มีหนังสือได้รับรางวัล 49 เรื่อง แยกเป็น รางวัลดีเด่น 12 เรื่อง และรางวัลชมเชย 37 เรื่อง ดังรายชื่อต่อไปนี้
รางวัลดีเด่น 12 เรื่อง ดังนี้
หนังสือสารคดี มี 3 ด้าน
1) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
เรื่อง เทห์ฟ้า อัศจรรย์ ประพันธ์โดย ชล วิชัยดิษฐ ; จัดพิมพ์โดย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด (สำนักพิมพ์สารคดี)
2) ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชีวประวัติ
เรื่อง ศิลปะอิสลาม รูปแบบและหลักสุนทรียะ ประพันธ์โดย ดร.วสมน สาณะเสน ; จัดพิมพ์โดย หสม. สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส
3) ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ฯลฯ
เรื่อง Amidst the Geo-Economic Clashes ไทยในสงครามเย็น 2.0 ประพันธ์โดย ปิติ ศรีแสงนาม และจักรี ไชยพินิจ ; จัดพิมพ์โดย บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน)
หนังสือนวนิยาย เรื่อง สุดเส้นเมฆขาวยาวเงิน ประพันธ์โดย กิตติศักดิ์ คงคา ; จัดพิมพ์โดย บริษัท 13357 จำกัด
หนังสือกวีนิพนธ์ เรื่อง เรือนในรัก โลกในเรา ประพันธ์โดย พัฒนะ ปฐมพงศ์ ; จัดพิมพ์โดย ล้วนลักษณ์ อาศัยพานิชย์
หนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่อง เรื่องผิดปกติบนหน้าจอที่สาม กับ ความรู้สึกที่ดาวน์โหลดไม่ได้ ประพันธ์โดย พลัง เพียงพิรุฬห์ ; จัดพิมพ์โดย นิดจะศิลป์ อาร์ต สเปซ
หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ปี เรื่อง โรนินกับปริศนาแห่งการนอน ประพันธ์โดย เกื้อกมล นิยม ; จัดพิมพ์โดย บริษัท สานอักษร จำกัด
หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6 – 11 ปี มี 2 ประเภท
1) ประเภทบันเทิงคดี ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
2) ประเภทสารคดี ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 – 18 ปี มี 3 ประเภท
1) ประเภทบันเทิงคดี ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
2) ประเภทสารคดี ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
3) ประเภทบทร้อยกรอง เรื่อง โลกสีเทา เราสีเดียวกัน ประพันธ์โดย แมน คล้ายสุวรรณ ; จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยรังสิต
หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ มี 3 ประเภท
1) ประเภทการ์ตูน และ หรือนิยายภาพสำหรับเด็ก (อายุ 6 – 11 ปี) เรื่อง ซุนหงอคง ราชาวานร ประพันธ์โดย ณัฐชนัน โฆษิตาภรณ์; จัดพิมพ์โดย บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด
2) ประเภทการ์ตูน และ หรือนิยายภาพทั่วไป (อายุ 12 ปีขึ้นไป) เรื่อง เจ้ามึนจะอายุ 65 ปี อย่างมีความสุข ประพันธ์โดย PPONG 4KOMA จัดพิมพ์โดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์ไก่ 3
3) ประเภทการ์ตูนปกิณกะเชิงสร้างสรรค์ ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
หนังสือสวยงาม มี 2 ประเภท
1) ประเภทสวยงามทั่วไป เรื่อง พระพุทธรูปเอกอุแห่งแผ่นดินสยาม อัครพระพุทธปฏิมา: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เล่ม 1-2 ประพันธ์โดย ภุชชงค์ จันทวิช สมภพ วัชฤทธิ์ และ สมภพ ถาวรวัฒนะ ; จัดพิมพ์โดย วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
2) ประเภทสวยงามสำหรับเด็ก เรื่อง โรนินกับปริศนาแห่งการนอน ประพันธ์โดย เกื้อกมล นิยม ; จัดพิมพ์โดย บริษัท สานอักษร จำกัด
รางวัลชมเชย 37 เรื่อง ดังนี้
หนังสือสารคดี มี 3 ด้าน
ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) จิตตุงแปร่ง…ในโลก why (?) ป่วง ประพันธ์โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ; จัดพิมพ์โดย บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน)
2) แมวดาว ชีวิตที่ถูกลิขิตด้วยคน ประพันธ์โดย ศาตพจี รินสุวรรณ ; จัดพิมพ์โดย คมวจี แฮสุวรรณ
3) Twists and Turns คิดเปลี่ยนในโลกหักมุม ประพันธ์โดย สันติธาร เสถียรไทย ; จัดพิมพ์โดย บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน)
ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชีวประวัติ มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) ขอบคุณมะเร็งที่เข้ามาป่วนชีวิต ประพันธ์โดย ‘หลิน สุพรรณี’ ; จัดพิมพ์โดย Artbook
2) ข้างสำรับอุษาคเนย์ ประพันธ์โดย องค์ บรรจุน ; จัดพิมพ์โดย บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน)
3) ประวัติศาสตร์และศิลปะอีสาน ประพันธ์โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด)
ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ฯลฯ มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) คู่มือนำชมศิลปกรรมโบราณสมัยสุโขทัย ประพันธ์โดย ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด)
2) โปรตุเกส…เหตุที่รัก ประพันธ์โดย เกศณี ไทยสนธิ ; จัดพิมพ์โดย I-Fah Paradise Publishing & Wisdom Publishing by Thapanee
3) Georgia Folks ผู้คน วิถี และมิตรภาพ I DRAW & TRAVEL VOL. 2 ประพันธ์โดย รงรอง หัสรังค์ ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ I draw&travel
หนังสือนวนิยาย มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) ฝนล้านฤดู ประพันธ์โดย ปราปต์ ; จัดพิมพ์โดย บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด
2) พยับฟ้าโพยมดิน ประพันธ์โดย พงศกร ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง ในเครือ บริษัท กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง จำกัด
3) เมื่อวานรสวานิลลาซันเด ประพันธ์โดย นทธี ศศิวิมล ; จัดพิมพ์โดย บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด
หนังสือกวีนิพนธ์ มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) จักรวาลสังเคราะห์ในกระเพาะปลวก ประพันธ์โดย โชคชัย บัณฑิต’ ; จัดพิมพ์โดย โชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์
2) ดวงดาวแห่งการละคร ประพันธ์โดย นิตา มาศิริ ; จัดพิมพ์โดย วิภาทิพย์ อัลภาชน์
3) รวมบทกวี บังฟ้าเบิกอบาย ประพันธ์โดย นายทิวา ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ ออน อาร์ต
หนังสือรวมเรื่องสั้น มีรางวัลชมเชย 2 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) ทับสมิงคลา และบรรดาเรื่องเล่าของเหล่าสัตว์ ประพันธ์โดย อุเทน พรมแดง ; จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อินเทรนด์
2) ร้านขายเรื่องสั้นแด่ผู้ใฝ่ฝันจะมีชีวิตอยู่ ประพันธ์โดย กิตติศักดิ์ คงคา ; จัดพิมพ์โดย บริษัท 13357 จำกัด
หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) คลินิกหมอฟันริมเขา : ชุดใครใครก็มีฟัน ประพันธ์โดย นริศ สุขมาก และปรีดา ปัญญาจันทร์ ; จัดพิมพ์โดย บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด
2) ฉันชอบมะเขือเทศที่สุดในโลก ประพันธ์โดย ธนัชพร จึงแย้มปิ่น ;จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์แบร์ฟุตบานาน่า ในเครือบริษัท ยูอาร์ยู จำกัด
3) หูไว ตาไว : ชุดนิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า “เด็กปลอดพอด” ประพันธ์โดย ชีวัน วิสาสะ ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี มี 2 ประเภท
ประเภทบันเทิงคดี มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) กระรอกน้อยผจญภัย ประพันธ์โดย ด.ช. โมกข์ ลิ้มสวาท ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
2) เด็กชายกับสหายผู้ปกป้อง ประพันธ์โดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
3) ตำนานใจนัยคลอง ประพันธ์โดย สุขสันต์ บุญยะผลานันท์ ; จัดพิมพ์โดย คมบาง
ประเภทสารคดี มีรางวัลชมเชย 2 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) ความกลัวของฉัน ประพันธ์โดย ปุณยนุช สุนทรินคะ ; จัดพิมพ์โดย บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด
2) มวยไทยหัวใจนักสู้ ประพันธ์โดย บุณยวีร์ เซ่งไพเราะห์ ; จัดพิมพ์โดย บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด
หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 – 18 ปี มี 3 ประเภท
ประเภทบันเทิงคดี มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) เฌอ Memoirs of the tree ประพันธ์โดย พงศกร ;จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ เน็กซ์ พับลิชชิ่ง ในเครือบริษัท กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง จำกัด
2) มีน ประพันธ์โดย วิเชียร ไชยบัง ; จัดพิมพ์โดย โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
3) Hostel ของวิฬาร์ ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย นรเศรษฐ์ ทับทิมทอง
ประเภทสารคดี มีรางวัลชมเชย 2 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) เมืองลิง ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ฤทธิฤต อัคริยานนท์
2) สุนทรภู่ ตัวตนจริงและสิ่งสร้าง ประพันธ์โดย วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง ;จัดพิมพ์โดย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด (สำนักพิมพ์สารคดี)
ประเภทบทร้อยกรอง มีรางวัลชมเชย 2 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) ที่นี่สถานีบางรัก ประพันธ์โดย รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล ; จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยรังสิต
2) ร้อยลักษณ์สักวา ปริศนาคำทาย ประพันธ์โดย เผด็จ บุญหนุน ; จัดพิมพ์โดย เสียงพิณ เตมียสถิต
หนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ มี 3 ประเภท
ประเภทการ์ตูน และ หรือนิยายภาพสำหรับเด็ก (อายุ 6 – 11 ปี) ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
ประเภทการ์ตูน และ หรือนิยายภาพทั่วไป (อายุ 12 ปีขึ้นไป) ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
ประเภทการ์ตูนปกิณกะเชิงสร้างสรรค์ มีรางวัลชมเชย 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง พุทธประวัติฉบับคอมมิค ภาคก่อนตรัสรู้ Before Becoming the Buddha Vol 2 ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ADISAK DAS PONGSAMPAN
หนังสือสวยงาม มี 2 ประเภท
ประเภทสวยงามทั่วไป มีรางวัลชมเชย 1 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง วัดใหญ่สุวรรณาราม ประพันธ์โดย รองศาสตราจารย์พงศกร ยิ้มสวัสดิ์ และวีรยา บัวประดิษฐ์ ; จัดพิมพ์โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเภทสวยงามสำหรับเด็ก มีรางวัลชมเชย 3 เรื่อง (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) ได้แก่
1) ซุนหงอคง ราชาวานร ประพันธ์โดย ณัฐชนัน โฆษิตาภรณ์ ; จัดพิมพ์โดย บริษัท สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด
2) ตือรีมอกาเซะห์ ขอบคุณ : ชุด นิทานสร้างเสริมทักษะชีวิต ประพันธ์โดย รุสนี ปาเซเลาะ และฝ้ายลิกา ยาแดง ; จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
3) เสียงดนตรีในสายฝน ประพันธ์โดย สุรศักดิ์ พุ่มรัก ;จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์คิดดี้ ในเครือบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด