เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้นำนักเรียนของ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ที่ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมแข่งขันการประกวดและจัดนิทรรศการระดับนานาชาติ 2 รายการและระดับชาติ1 รายการ เข้าพบพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกรทรวงศึกษาธิการ  นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดย

นายสุรศักดิ์ กล่าวแสดงความชื่นชมนักเรียนว่า ความสำเร็จครั้งนี้เป็นการแสดงศักยภาพ ความทุ่มเท ของน้อง ๆ ที่ตั้งใจเรียนทำให้ความสำเร็จเกิดขึ้น อีกอย่างก็คือครูและบุคลากรทุกคนที่ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนให้น้อง ๆ ทุกคนได้มาถึงขนาดนี้ และที่สำคัญเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือเอาใจใส่ของทุกภาคส่วน ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล สพฐ.ก็มีความภาคภูมิใจ อีกทั้งเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาปกติ การศึกษาพิเศษ หรือการศึกษารูปแบบอื่น ๆ ก็ขอเป็นกำลังใจและหวังว่าสิ่งที่ทำมาจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เพื่อน ๆ และขอให้พัฒนาตนเองให้เก่งขึ้นไปเรื่อย ๆ

พล.ต.อ.เพิ่มพูน กล่าวว่า อยากให้เด็ก ๆ  นำความภาคภูมิใจในวันนี้ไปขยายผลต่อให้ถึงเพื่อน ๆ และรุ่นน้อง ๆ ด้วย เราเก่งคนเดียวไม่พอ แต่จะต้องทำให้เพื่อน ๆ น้อง ๆ เก่งเหมือนเรา เพราะฉะนั้นอยากให้ขยายไปยังโรงเรียนอื่น ๆ อีก เราต้องเป็นแบบอย่างหรือไอดอลให้เพื่อน ๆ หรือน้อง ทำอย่างไรให้เพื่อน ๆ และ น้อง ๆ เก่งเหมือนเรา และขอให้รักษาความภาคภูมิใจหรือความดีตลอดไป

สำหรับนักเรียนที่แสดงความสามารถคว้ารางวัลจากเวทีต่าง ๆ ประกอบด้วย

  1. การประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในงาน “Seoul International Invention Fair 2024” (SIIF  2024) ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม – 2 ธันวาคม 2567 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี SIIF (ระดับนานาชาติ) “Seoul International Invention Fair 2024” (SIIF 2024) เป็นเวทีการประกวดและนำเสนอผลงาน ของนักประดิษฐ์จากนานาประเทศจัดโดย Korea Invention Promotion Association (KIPA) สมาคมส่งเสริม การประดิษฐ์ของสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลเกาหลี ในงานดังกล่าวมีผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ นักวิจัยและนักประดิษฐ์อิสระจากเกาหลีและ ต่างประเทศ เข้าร่วมประกวดและจัดแสดง จำนวนกว่า 1,000 ผลงาน จากองค์กรประเทศต่างๆ กว่า 30  ประเทศทั่วโลก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้ส่งโครงงานเครื่องฝึกสะกดนิ้วมือสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยินด้วย AI ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากกิจกรรม Coding War ให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ได้ พิจารณาผลงานดังกล่าวและได้ถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในงาน “Seoul  International Invention Fair 2024” (SIIF 2024) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี จากการแข่งขันดังกล่าว โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ได้รับรางวัล
  2. รางวัล WIPO National Award for Creativity จาก Korean Invention Promotion Association  (KIPA) รางวัลความเป็นเลิศด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
  3. รางวัล GOLD PRIZE จาก SEOUL INTERNATIONAL INVENTION FAIR รางวัลเหรียญทอง จากการ ประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ โซล ประจำปี 2567
  4. รางวัล NRCT SPECIAL AWARD จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รางวัลงานวิจัยที่ใช้สื่อสังคม ออนไลน์สร้างสรรค์สังคมได้อย่างยอดเยี่ยม จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผู้เข้าแข่งขัน ประกอบด้วย น.ส.อแมนด้า วงศ์สรณะ นักเรียน ชั้น ม.5  น.ส.วกวิตา สุดแสงจันทร์ นักเรียน ระดับ ชั้น ม.5  ด.ญ.ชญานันท์ รัศมีโสภณ นักเรียน ชั้น ม.2  และมี นายวศิน แสงสิน ครู คศ.1 และ น.ส.นฤมล สุวามิน ครู คศ.3 เป็นผู้ฝึกสอน

  1. การแข่งขันการแข่งขันความท้าทายทางเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสากล 2024 (Global IT  Challenge for Youth with Disabilities : GITC) (ระดับนานาชาติ)ซึ่งเป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างขีด ความสามารถด้าน ICT ของเยาวชนที่มีความพิการ สร้างรากฐานสำหรับความก้าวหน้าทางสังคม และปรับปรุง ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงระบบดิจิทัลสำหรับเยาวชนที่มีความพิการ ที่จัดขึ้นโดย Rehabilitation  International Korea (RI Korea) มีการเริ่มโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 จนถึงปัจจุบัน โรงเรียน เศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ได้เข้าร่วมการแข่งขัน GITC ตั้งแต่ปี ค.ศ.2016 จนถึงปัจจุบัน มีการแข่งขันทั้งหมด 6 รายการ ได้แก่ 1. eCreative_IoT (ประเภททีม)  เป็นการแข่งขันประกวดโครงงาน IoT สำหรับช่วยเหลือผู้พิการ 2. eCreative_Smart Car (ประเภททีม) เป็นการ แข่งขันเขียนโปรแกรมสั่งงานหุ่นยนต์รถ 3. eContent (ประเภททีม) เป็นการแข่งขันตัดต่อวิดีโอ 4. eLifeMap  (ประเภทเดี่ยว) เป็นการแข่งขันค้นหาข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 5. eTool_Spreadsheet (ประเภทเดี่ยว)  เป็นการแข่งขันการใช้สูตรคำนวณด้วย Excel 6. eTool_Presentation (ประเภทเดี่ยว) เป็นการแข่งขันการใช้ คำสั่ง PowerPoint

นักเรียนโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ที่เป็นตัวแทนเยาวชนพิการไทย ประเภทความพิการ ทางการได้ยิน ได้เข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าว และได้รับรางวัลจำนวน 2 รางวัล ได้แก่  รางวัลเหรียญเงิน Excellent Award eContent (การแข่งขันตัดต่อวิดีโอ) และ รางวัลเหรียญเงิน Excellent Award eCreative_IoT (การแข่งขันประกวดโครงงาน IoT สำหรับ ช่วยเหลือผู้พิการ) โดยนักเรียนที่ได้รับรางวัล คือ ด.ญ.ชญานันท์ รัศมีโสภณ นักเรียน ชั้น ม. 2  และ น.ส.นฤมล สุวามิน ครู คศ.3 เป็นผู้ฝึกสอน

  1. การแข่งขันวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนนาย ร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ จังหวัดนครนายก (ระดับชาติ) เนื่องจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้จัดการแข่งขันวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์การบินอากาศ ยานประเภท เครื่องร่อน เครื่องบินพลังงาน เครื่องบินเล็กบังคับวิทยุ เฮลิคอปเตอร์ และมัลติโรเตอร์ ชิงถ้วย พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามโครงการ ส่งเสริมพัฒนาสุขภาพกาย ใจ จิต ปัญญา กระบวนการเรียนรู้และศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์การบิน โดยมีเป้าหมายส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์การบิน ต่อยอดโครงการกิจกรรมการ เรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นักบินน้อย ของสพฐ. ใน ประเภทเครื่องร่อน เครื่องบินพลังยาง เครื่องบินเล็กบังคับวิทยุประเภท 4 ช่องสัญญาณ อากาศยานบังคับวิทยุ ประเภทความคิดสร้างสรรค์ มัลติโรเตอร์ สำหรับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ให้มีความรู้ความ ชำนาญ ทักษะประสบการณ์เพียงพอที่จะดัดแปลงปรับปรุงรูปแบบอากาศยานชนิดต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพด้าน การบินดีขึ้น เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัยให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไปในอนาคต โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 4 รายการ ได้แก่ 1.อากาศยานมัลติโรเตอร์ (โดรน)  ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา 2. เครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทบินนาน ปีก 1 เมตร 3. เครื่องร่อนด้วยมือ ระดับประถมศึกษา ประเภทบินนาน ปีก 60 เซนติเมตร 4. เครื่องบินพลังยาง Stick รุ่น  Expert Class

จากการเข้าร่วมการแข่งขันโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน  การแข่งขันอากาศยานมัลติโรเตอร์ (โดรน) ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา มีผู้เข้าแข่งขันและครูผู้ฝึกสอนดังนี้ ด.ญ.รมณ จุมพรม นักเรียนชั้น ป.6 ผู้แข่งขัน และ นายวศิน แสงสิน ครู คศ.1 ครูผู้ฝึกสอน

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments