เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ปฎิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นำสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจกรรม ที่แสดงถึงศักยภาพของชาวอาชีวศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ต้องการโชว์ศักยภาพของชาวอาชีวศึกษาซึ่งมีสถานศึกษาในสังกัดมากมายทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งสิ้น 877 แห่ง23 สถาบัน โดยเรามุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปจบการศึกษาแล้วมีงานทำ ฉะนั้นโจทย์ของ สอศ.คือจะทำอย่างไรให้งานอาชีวศึกษาเข้าไปอยู่ในหัวใจของคนไทย ให้ทุกคนรู้ว่าการศึกษาสายอาชีวะมีดีอย่างไร ซึ่งเราจะยกระดับการอาชีวศึกษาให้เป็นโซ่ข้อกลางในการเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยวันนี้เราได้นำสื่อมวลชนมาลงพื้นที่อาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะเป็นนครราชสีมาโมเดลต่อไป โดยเริ่มที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา  และเทคนิคนครโคราช ซึ่งมีความโดดเด่นในการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาวิชาที่น่าสนใจอย่างมาก

นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)ได้ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาการศึกษาเรียนดี มีความสุขเน้น การศึกษาที่มีคุณภาพ โดยนักเรียนนักศึกษาที่จบออกไปแล้วจะต้องมีงานทำ ซึ่งปัจจุบัน สาขาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย มีสถานศึกษาอาชีวศึกษาเปิดสอนสาขานี้ ถึง 46 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมทั้งภาคเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีทั้งหลักสูตประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและสิ่งทอ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ซึ่งวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมาได้เป็นศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center Of Vocational Manpower Networking Management : CVM)ที่มุ่งเน้นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีแฟชั่นและสิ่งทอ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลักการและกระบวนการทำงานด้านการออกแบบแฟชั่น แพทเทิร์นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีด้านการออกแบบแฟชั่น แพทเทิร์นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย รวมทั้งสามารถปฏิบัติงาน สร้างสรรค์และวิเคราะห์ปัญหา ด้านการออกแบบแฟชั่น แพทเทิร์นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายได้ โดยมีรายวิชาที่น่าสนใจ เช่น ความรู้เรื่องสิ่งทอ การออกแบบเสื้อผ้า เทคนิคการตัดเย็บ ตกแต่ง และการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การออกแบบการจัดแสดงแฟชั่น คอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบแฟชั่น เป็นต้น

อาชีวศึกษานครราชสีมา มีการพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล การส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้พัฒนาทักษะและประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ล้วนเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ศูนย์ CVM นำมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในสาขาวิชานี้นายยศพล กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีนักเรียน นักศึกษาที่กำลังศึกษาในสาขาวิชานี้ทั่วประเทศรวมกว่า 1,400 คน ซึ่งนับว่าเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทยในอนาคต ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขานี้สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์หรือนักออกแบบแฟชั่น(Fashion designer) นักวิเคราะห์เทรนด์แฟชั่น นักวาดภาพประกอบแฟชั่น นักออกแบบลายผ้า สไตลิสต์ ช่างแพทเทิร์น นายแบบ นางแบบ แฟชั่นมาร์เกตติ้ง Make-up artist หรือแม้แต่การเป็นเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองนอกจากความหลากหลายของอาชีพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดให้หลายคนสนใจวงการแฟชั่นคือโอกาสในการสร้างรายได้ที่น่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่แฟชั่นกลายเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์และมีการแข่งขันสูงทำให้ผู้ที่มีความสามารถและความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างรายได้ได้อย่างมหาศาลอย่างแฟชั่นดีไซเนอร์ นักออกแบบแฟชั่นชื่อดังระดับโลกหลายคนมีรายได้สูงถึงหลักล้านดอลลาร์ต่อปี นอกจากค่าตอบแทนจากการออกแบบคอลเลกชั่นแล้ว ยังมีรายได้จากการร่วมงานกับแบรนด์ดัง การออกแบบชุดให้กับดารา หรือการเปิดแบรนด์ของตัวเอง สไตลิสต์ชื่อดังก็มีรายได้สูงเช่นกัน

นางจิตโสมนัส ชัยวงษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา กล่าวว่าวิทยาลัยส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนรู้แบบActive  Learning ตามนโยบายเรียนดีมีความสุขของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นายยศพลเวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเรียนรู้และส่งเสริมการยกระดับทักษะฝีมือของเด็กโดยผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ ซึ่งทำให้ทุกคนมีความสุขในการเรียนโดยมีครูเป็นผู้ให้การสนับสนุนอำนวยการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะในสาขาที่เรามีความเป็นเลิศอย่างเช่น สาขาแฟชั่น สาขาอาหาร ที่ผลงานของเด็ก จะมีรางวัลกันทุกปี จนทุกวันนี้เราเป็นที่หนึ่งในระดับจังหวัดแล้ว

การเรียนรู้แบบบูรณาการเด็กทุกคนจะมีความสุข ผลงานที่เกิดจากเด็กจะสะท้อนกลับไปว่าครูสอนอย่างไร อย่างตอนนี้ในเรื่องของแฟชั่นและการตัดเย็บครูของวิทยาลัยได้รับมาตรฐานช่างตัดเย็บระดับ 5 แล้ว ซึ่งเราก็จะไปเตรียมพร้อมว่าเด็ก หรือผู้เรียนของวิทยาลัยก็จะต้องผ่านมาตรฐานนี้เช่นกันทั้งระดับ ปวช.และ ปวส. เพื่ออนาคตเด็ก จะได้เป็นดีไซเนอร์ คอสตูม หรือเป็นอะไรที่อยากจะเป็น รวมถึงเป็นผู้ประกอบการที่จะสร้างเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง ด้วยซอฟพาวเวอร์ทางด้านแฟชั่นผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา กล่าวและว่า  นักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยจะมีโอกาสได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการสำคัญ  ต่างๆ ที่ทางวิทยาลัยเข้าร่วมกับภาคส่วนต่าง ภายนอก นับเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้เด็ก มีความสุขในการเรียน ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานที่ไปชนะการประกวดในเวทีต่าง ทั้งในระดับจังหวัดระดับประเทศ และสากล ซึ่งนอกจากเด็กจะมีความภาคภูมิใจที่ได้แสดงออกในเวทีต่างๆ แล้วผอ.เองและครูทุกคนก็รู้สึกว่ามีความสุขที่ได้เป็นแรงผลักให้เด็กได้แสดงออกและนำเสนอผลงานในเวทีต่างๆ อย่างหลากหลายด้วย

ผอ.จิตโสมนัส กล่าวด้วยว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมามีความโดดเด่นในหลายสาขาโดยทางด้านแฟชั่นเราเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว และยังมีสาขาที่ได้รับการยอมรับอย่างมากก็คืออาหารและโภชนาการ เพราะได้รับโอกาสให้ทำอาหารพื้นถิ่น ได้เป็นกรรมการในการประกวดทุกเวที  ภายใต้แบรนด์ครัวอาชีวะโคราชเป็นที่ทราบดีว่ามีคุณภาพและมาตรฐาน รสชาติอร่อย รักษามาตรฐานความเป็นไทย โดยล่าสุดได้รับรางวัล 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่นรสชาติที่หายไป The Lost Taste” นำเมนูน้ำพริกหมู (โคราช) ของครัวอาชีวะโคราช ได้รับการประกาศเป็นอาหารถิ่นประจำจังหวัดนครราชสีมา และได้รับคะแนนโหวตสูงสุดจากประชาชน ในโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food รสชาติที่หายไป The Lost Taste) ประจำปี 2567 ด้วย นอกจากนี้ยังมีครัวเบเกอรี่สินค้าที่เด็ก ได้ร่วมกันผลิตและจำหน่ายที่ศูนย์ฝึกภายในวิทยาลัยที่เปิดให้บริการบุคคลภายนอกด้วย นอกจากนี้ยังมีสาขาอื่นที่เป็นสาขาที่มีชื่อเสียงของวิทยาลัย คือ  สาขาการโรงแรม การบัญชี   ศิลปกรรม และธุรกิจสถานพยาบาล เป็นต้นทุกสาขาของวิทยาลัยจะมีทำงานร่วมกันเพื่อให้ผลงานออกมาดี ทั้งครูและเด็กได้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นเด็กทุกคนที่เข้ามาเรียนที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา นอกจากจะได้รับความรู้ในแต่ละสาขาแล้วยังได้ทักษะอื่นๆจากการร่วมทำกิจกรรมอีกมากมายเป็นการเรียนอย่างมีความสุขแน่นอน

นายกิตติ ทุมมาลา นักศึกษา ปวส.1  กล่าวว่า ที่เลือกมาเรียนสาขาแฟชั่นที่วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ก็เป็นความชอบส่วนตัวที่สนใจเรื่องผ้าอยู่แล้ว และ มั่นใจวิทยาลัยนี้เพราะมีชื่อเสียงระดับประเทศ และเมื่อได้เข้ามาเรียน ก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดก็ได้รับรางวัลมา ถ้าเรียนจบไปก็คิดว่าจะทำธุรกิจเกี่ยวกับผ้าไทยโดยนำผ้าท้องถิ่นมาต่อยอด

..อมิตา ทิมอุดม นักศึกษา ปวส. 2 กล่าวว่า ผลงานที่ส่งประกวดได้แรงบันดาลใจมาจากโคนม ซึ่งเกิดจากความสงสัย ว่า นมที่เราดื่มกันมาตั้งแต่เด็กมาจากไหนจึงได้ไปค้นคว้าและทราบว่ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้มาทำชุดพอส่งประกวดโครงการเยาวชนสร้างสรรค์ต่อยอดแฟชั่นหัตถศิลป์ไทย ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศมาเลย ส่วนที่เลือกมาเรียนที่นี่ เพราะอยากเป็นดีไซเนอร์และไปสานต่อกิจการของครอบครัว

4.3 3 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments