แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) ที่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ได้กำหนดเป้าหมายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของกลุ่มผู้เรียนแต่ละช่วงวัย โดยมีกิจกรรมปฏิรูปที่เหมาะสมสำหรับแต่ละช่วงวัย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้เกิดศักยภาพสมวัย โดยสิ่งที่พ่อ แม่ และผู้ปกครอง ควรรับรู้ว่าเป้าหมายศักยภาพของบุตรหลานในแต่ละช่วงวัย หรือ ระดับ ควรเป็นเช่นไร นั่นคือ

 ระดับปฐมวัย : เน้นให้เกิดความสามารถ คิดวิเคราะห์เชิงระบบ จัดประสบการณ์ พัฒนาพหุปัญญา   หมายความว่า  เด็กทุกคนจะต้องได้รับการพัฒนาจากความฉลาดที่ติดตัวมาในแต่ละด้าน ไม่เหมือนกันในแต่ละคน และเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผ่านการจัดประสบการณ์ตรง จนบรรลุเป้าหมายเด็กเกิดความสามารถคิดวิเคราะห์เชิงระบบและแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมเดียวกัน

ส่วน ระดับประถมศึกษา :  เน้นให้จัดประสบการณ์จริงให้กับนักเรียน ให้บูรณาการการเรียนรู้ พัฒนาพหุปัญญา สร้างงาน สร้างนวัตกรรม พัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยตัวของนักเรียนเอง  นั่นคือ บุตรหลานของท่านทุกคนต้องเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงไม่เหมือนในอดีตโดย นักเรียนต้องคิดวิเคราะห์ เชื่อมโยงกับคุณธรรม ค่านิยมที่ดี แล้วลงมือทำ แก้ปัญหา พัฒนางานตามกิจกรรมที่หลักสูตรให้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (สมองเรียนรู้ในส่วนของความจำระยะยาว) ไม่เน้นให้สอน โดยให้นักเรียนมุ่งอ่าน ท่องจำ ทำตามตัวอย่างเพื่อเตรียมตัวสอบ ซึ่งเกิดผลเป็นความจำระยะสั้น (สมองเรียนรู้ในส่วนของความจำระยะสั้น) เมื่อนักเรียนสอบเสร็จแล้วก็ลืมไปจนหมดสิ้นอย่างรวดเร็ว จึงไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ตลอดการเรียนรู้ที่ใช้เวลามากว่า 10 ปี ซึ่งตามหลักสูตร บุตรหลานของท่านต้องได้รับการพัฒนาให้สามารถสร้างโครงงาน นวัตกรรม เพื่อนำนวัตกรรมไปช่วยยกระดับอาชีพของครอบครัวได้เลย แต่ที่ผ่านมา นักเรียนบางคน ไม่สามารถแสดงออกทั้งด้านความสามารถในการคิด และการปฏิบัติอย่างเป็นระบบได้เลย

ขณะที่  ระดับมัธยมศึกษา ทั้งตอนต้นและตอนปลาย : นักเรียนต้องมีศักยภาพในการสร้างผลผลิตจากการเรียนรู้ และต่อยอดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง สามารถสร้างความรู้ในระดับหลักการ เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในพื้นฐานวิชาชีพได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจในชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนต้องสามารถสร้างความรู้จากการปฏิบัติการเชิงวิจัยในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ในระดับชุมชน เชื่อมโยงกับพหุวัฒนธรรม และบริบทของชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค และประเทศ และระดับสากล  หมายความว่า นักเรียนที่เรียนจบระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลาย ต้องมีความสามารถและศักยภาพในการสร้างผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการวิจัยในระดับสูง และผลที่เกิดต้องเป็นผลผลิตในระดับนวัตกรรม ที่เชื่อมโยงกับด้านเศรษฐกิจ พหุวัฒนธรรมในระดับชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค  ระดับประเทศ และระดับสากล

และการที่ผู้เรียนจะไปถึงเป้าหมายอันพึงประสงค์ในของแต่ละช่วงวัยได้นั้น การเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps คือ ทางออก เพราะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ วิจัย แล้วลงมือปฏิบัติ นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงาน และพัฒนาจนเกิดเป็นนวัตกรรม ซึ่งสิ่งที่ได้ นอจากองค์ความรู้และวิธีคิดที่จะติดตัวเด็กไปแบบไม่มีวันลืม ที่สำคัญผู้เรียนจะเป็นคนที่คิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม สามารถนำไปต่อยอด พัฒนา เพื่อสร้างรายได้ของครอบครัว พัฒนาชุมชน สังคม ประเทศ และระดับสากลได้ มันแมสมาก แต่คำถาม คือ วันนี้บุตรหลานของท่านได้รับการพัฒนาให้เกิดศักยภาพตามช่วงวัยแล้วหรือยัง ?

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments