เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีปิดงาน “มหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา” การแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ระดับชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2567 ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมี นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ บุคลากร นักเรียนและนักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เข้าร่วม  ณ ห้อง ไดมอนด์ ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ได้เป็นตัวชี้วัดของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ ที่แสดงถึงขีดความรู้ ความสามารถของคนในชาติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าสู่ระดับสากล จะเห็นว่านักเรียน  นักศึกษาอาชีวศึกษา ได้นำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีหลากหลายสาขาวิชาชีพ มาพัฒนา ประดิษฐ์และคิดค้นหุ่นยนต์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศ ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขอแสดงความยินดี ชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับทีมหุ่นยนต์อาชีวศึกษาทุกทีม ที่เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษาในระดับชาติ

ด้าน นายยศพล กล่าวว่า การจัดงาน “มหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา” การแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ระดับชาติ ในครั้งนี้ เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ระดับชาติ เพื่อชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์การค้าเชียร์ รังสิต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมีกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ การแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนอาชีวศึกษา จำนวน 16 ทีม การแข่งขันหุ่นยนต์ ABU อาชีวศึกษา จำนวน 59 ทีม  การแข่งขันหุ่นยนต์บริการอัจฉริยะอาชีวศึกษา จำนวน 32 ทีม และการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมอาชีวศึกษา จำนวน 32 ทีม

ทั้งนี้มีสถานศึกษาที่ได้รับรางวัล ดังนี้ ประเภทการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนอาชีวศึกษา รางวัลชนะเลิศ ทีมชนัตถ์ FC โรงเรียนตำรวจตระเวนชานแดนชนัตถ์ปิยะอุย รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาแตรว โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาแตรว รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีม HM3 (เอชเอ็มทรี)  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง (คล้ายคลึงอุปถัมภ์) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 ทีม Samer.Bpp.Robot  โรงเรียนศูนย์การเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแผ่นดินเสมอ รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ทีม HM3 (เอชเอ็มทรี)  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง (คล้ายคลึงอุปถัมภ์) รางวัลความคิดสร้างสรรค์ออกแบบหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม ทีมหลานพระเจ้าตาก โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมว

ประเภทการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU อาชีวศึกษา รางวัลชนะเลิศ  ทีมขุนด่านปราการชล วิทยาลัยเทคนิคนครนายก รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีม LTC.Robot  วิทยาลัยเทคนิคลำพูนรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีมนายฮ้อยทมิฬ Legend Two  วิทยาลัยเทคนิคสว่างแดนดิน รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 ทีมยูคาลิปตัส วิทยาลัยการอาชีพกบินทร์บุรี รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ทีม LB.Tech Robot  วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี รางวัลความคิดสร้างสรรค์ออกแบบหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม   ทีม KTC.DINOROBOT วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์

ประเภทการแข่งขันหุ่นยนต์บริการอัจฉริยะอาชีวศึกษา รางวัลชนะเลิศ  ทีมศรีอินทนิล วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีมเจ้าลำพระเพลิง  วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีมพญาเห็ดโคน วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 ทีมโปงลางโรบอท วิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์ รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ทีมเมืองร้อยเกาะ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี  รางวัลความคิดสร้างสรรค์ออกแบบหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม ทีมข้าวหอมมะลิ 101 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด

ประเภทการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมอาชีวศึกษา รางวัลชนะเลิศ  ทีมโอ่งมังกร 2024 วิทยาลัยเทคนิคราชบุรีรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ทีมพรหมณี วิทยาลัยการอาชีพนครนายก รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ทีมบ้านแพ้ว วิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 ทีมอินทนนท์โรโมติก วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ทีม KTC.DINOROBOT  วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ รางวัลความคิดสร้างสรรค์ออกแบบหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม ทีมหลานย่าโม วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments