เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2567 ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)เปิดเผยว่า ตนได้เดินทางพร้อมคณะทำงาน ไปประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีภารกิจ เพื่อไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) เมืองนิวยอร์ก  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยลำดับที่ 23 ของโลกตาม QS World University Ranking 2024 และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง ยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของนครนิวยอร์กและเก่าแก่ที่สุดอันดับที่ห้าของสหรัฐอเมริกา มีผู้ได้รับรางวัลโนเบล ทั้งที่เป็นศิษย์เก่าและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 102 ท่าน ถือว่ามากที่สุดอันดับ 2 ของโลก ศิษย์เก่าที่เป็นประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีจากทั่วโลกจำนวน 29 ท่าน Teacher College Columbia University จัดตั้งเมื่อปี 1880 เป็นคณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของระดับบัณฑิตศึกษา อันดับ 1 (#1 Graduate School of Education จาก US News & World Report ) ยังมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในการผลิตครูและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในสหรัฐอเมริกาและจากทั่วโลก ปัจจุบันเปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี โท เอก และประกาศนียบัตร รวมทั้งมีหลักสูตรพัฒนาครูหรือบุคคลทั่วไประยะสั้นกว่า 100 หลักสูตร ในหลากหลายสาขาวิชาทางศึกษาศาสตร์ ทั้งนี้ จากการเจรจาหารือความร่วมมือ สรุปได้ว่า 1. การพัฒนาครูตามหลักสูตรผู้นำสะเต็มศึกษา (STEM Education Leadership) สำหรับครูในการสร้างสมรรถนะ สำหรับนักเรียนให้มีทักษะ และกระบวนการขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะสำคัญสู่การประเมิน PISA  2. การพัฒนาแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสู่การพัฒนานวัตกรรมหรือโครงงานสู่ชุมชน 3. การออกแบบหลักสูตรการพัฒนาครูผู้สอนนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สู่การบูรณาการสะเต็มศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ  4. การสนับสนุนครูสังกัด สพฐ. ในการเรียนต่อด้านการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (Gifted Education) ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ขาดแคลนในประเทศไทย

รองเลขาธิการกพฐ.กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงความยินดีกับคณะนักเรียนสังกัด สพฐ. สามารถคว้ารางวัลได้ 8 รางวัลจากการแข่งขัน Genius Olympiad 2024  ณ Rochester Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกาผลการแข่งขัน Genius Olympiad 2024  ซึ่งมีผลงานที่ส่งเข้าร่วมการคัดเลือกผ่านระบบออนไลน์จำนวน 2,457 ผลงานจาก 65 ประเทศทั่วโลก และมีผลงานผ่านการคัดเลือกจำนวน 727 ผลงาน ในการนำเสนอในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน 2567 ณ Rochester Institute of Technology มีผลงานในสาขาวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 367 ผลงานจากผลงานที่สมัครคัดเลือก 1,014 ผลงาน ผลการแข่งขันปรากฎว่าทัพนักเรียนสังกัด สพฐ. สามารถคว้ารางวัลได้ 8 รางวัล ดังนี้ รางวัลเหรียญทอง โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ชื่อผลงาน “ DYNAMO BUOY FOR ELECTRICITY GENERATION AND STORAGE” รางวัลเหรียญเงิน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ชื่อผลงาน “ NANOCRYSTALLINE CELLULOSE FROM PALM KERNEL CAKE“ รางวัลเหรียญทองแดง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ชื่อผลงาน “SOIL TYPES AFFECTING SURVIVAL AND GROWTH RATE OF BROKEN ENHALUS ACOROIDES WASHED ON SHORE“ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

ชื่อผลงาน “STUDY OF FACTORS AFFECTING THE GROWTH AND REDUCTION OF MORTALITY BEFORE THE MATING PERIOD OF THE PATANGA LOCUST TO DEVELOP A MODEL FOR COMMERCIAL FARMING“ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์  ชื่อผลงาน “ DEVELOPING A PROTOTYPE OF AN EFFICIENT SOLAR-ENERGY PADDY RICE DRYER FOR POST-HARVEST APPLICATIONS“  โรงเรียนดำรงราษฏร์สงเคราะห์  ชื่อผลงาน “ SUSTAINABLE WATER TREATMENT AND FOOD MANAGEMENT IN A MINI-FARM SYSTEM USING AKINETE CELLS OF HORSEHAIR ALGAE LOADED IN GELATIN HYDROGELS“ รางวัลชมเชย โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ชื่อผลงาน “THE DEVELOPMENT OF A SATELLITE IMAGE PROCESSING PROGRAM TO STUDY THE AREA OF MANGROVE FOREST BY USING MACHINE LEARNING” โรงเรียนชลกัลยานุกูล  ชื่อผลงาน “COMPARATIVE STUDY OF COCOS NUCIFERA HUSKS AND CALCINED POMACEA CANALICULATE SHELLS FOR EFFECTIVE HEAVY METAL ADSORPTION IN LABORATORY MADE WASTEWATER IMPLICATIONS FOR FRESHWATER ECOSYSTEM PROTECTION”

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments