ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาร่วมกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยจัดการประชุมสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) ในหัวข้อเรื่อง Climate Education แค่เรียนก็เปลี่ยนโลกได้โรงแรม เดอะ สุโกศล โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ สร้างความตระหนักให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญและผลกระทบของปัญหาโลกเดือด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลไปทุกมิติ รวมทั้งการศึกษา และระดมความคิดเห็นในการนำภาคการศึกษา และเยาวชนเข้าไปอีกหนึ่งแกนหลักในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 200 คน

ดร.อรรถพล กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพยายามศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของปัญหาโลกเดือด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการศึกษา รวมทั้งภาคการศึกษาจะเข้ามามีส่วนร่วมในการลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรโดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการนำภาคการศึกษาเข้าไปช่วยในการลดผลกระทบของปัญหาดังกล่าว สกศ. จึงได้ชวนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เห็นความสำคัญของปัญหาโลกเดือด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมมือในการขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในมิติด้านการศึกษา โดย สกศ. และองค์การยูนิเซฟ ได้ตกลงร่วมกันว่าจะจัดงานในวันที่ 5 มิ.. ซึ่งตรงกับวันสิ่งแวดล้อมโลก เป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินการอย่างจริงจัง ซึ่งกิจกรรมสำคัญที่ สกศ. มีความภาคภูมิใจในงานวันนี้ คือ การเสวนาของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่แสดงเจตจำนงอย่างชัดเจน ที่อาสาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแก้ไขปัญหาเหล่านี้ นอกจากนี้ สกศ. ยังได้รับความร่วมมือจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการใช้การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิด Climate Education อย่างเป็นรูปธรรม

ข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการเสวนามีด้วยกัน 3 ประการ คือ 1) สิ่งแรกสุดที่ภาคการศึกษาจะต้องเร่งดำเนินการ คือ เปลี่ยน Mindset สร้าง Habit การแก้ไขปัญหานี้ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกคนและทุกคนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ควรคิดว่าลำพังตัวเราเองไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ และยังต้องเปลี่ยน Mind set ไปสู่การสร้างอุปนิสัยที่ปฏิบัติได้ง่าย ปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของปัญหานี้แล้ว แต่ยังไม่มีพฤติกรรมที่ช่วยลดโลกร้อนอย่างจริงจัง 2) จุดเน้นของนโยบายการศึกษาที่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางและเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ยังไม่มีการบูรณาการทางนโยบายระหว่างหน่วยงานต่าง ทำให้การทำงานยังไม่เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง และ 3) การปรับหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอนของครู แม้ว่าหลักสูตรการศึกษาจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ได้ผลและให้นักเรียนเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าจะต้องเป็นการจัดการเรียนการสอนด้วยการลงมือปฏิบัติมากกว่าการบรรยายให้นักเรียนรู้แต่เพียงอย่างเดียวดร.อรรถพล กล่าวและว่า สกศ.ให้ความสำคัญกับเรื่องการนำการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างยิ่ง และจะประมวลข้อคิดเห็นต่าง ที่ได้จากการเสวนาในครั้งนี้ รวมทั้งผลการวิจัยของ สกศ. มาจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายนำให้รัฐมนตรีว่าการประทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบและสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments