ตามที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง ได้มีหนังสือด่วนที่สุดที่ กค (กอร) 0405.5/18222 เรื่อง แจ้งผลการพิจารณาข้อร้องเรียนของ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า การที่องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา( สกสค.) กำหนดเงื่อนไขใน TOR ข้อ 8.1 กำหนดว่าการยื่นข้อเสนอ ผู้ยื่นต้องยื่นข้อเสนอเป็นกลุ่มตามประเภทของหนังสือแบบเรียนการจัดพิมพ์ จำนวน 30 กลุ่ม ตามข้อ 17 ข้อ 8.2 กำหนดว่าการยื่นเสนอราคา ผู้ยื่นเสนอจะยื่นได้จำนวน 1 รายการ ของแต่ละกลุ่มตามที่กำหนดในข้อ 8.1 และขอบเขตของงานรายละเอียดและคุณลักษณะ (TOR) โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้นและข้อ 16.2 กำหนดว่าผู้ว่าจ้างจะพิจารณาราคาต่อรายการซึ่งโครงการนี้เป็นการจ้างพิมพ์หนังสือแบบเรียน ปีการศึกษา 2567 จำนวน 151 รายการนั้น การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เป็นการกีดกันการเสนอราคา ทำให้ไม่สามารถยื่นเสนอราคาได้ทั้ง 151 รายการ หรือได้ตามศักยภาพและตามความประสงค์ของผู้ยื่นข้อเสนอ จึงขัดกับหลักการตามนัยมาตรา 8 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ..2560

เมื่อวันที่ 27 ..2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ ว่า เรื่องนี้ ต้องไปดูอีกทีเพราะไม่แน่ใจว่าเรื่องทั้งหมดเป็นอย่างไร แต่เท่าที่อ่านในข่าวเป็นเรื่องการอุทธรณ์เท่านั้นเอง แต่ในกระบวนการก็ต้องชี้แจงในเรื่องของความจำเป็นเพราะกระบวนการตรงนี้สกสค.น่าจะสอบถามกรมบัญชีกลางมาหมดแล้ว แต่ต้องไปดูอีกทีว่ากระบวนการการให้ข้อมูลครบถ้วนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ก็ถือเป็นคำสั่งของการปกครอง ถ้าหากองค์การค้าของสกสค. บอกว่าได้ดำเนินการถูกต้องแล้ว ก็ต้องใช้อำนาจศาล ปกครองในการเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments