รศ.ดร.ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(มบส.)ในฐานะคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล : การบริหารโครงการเพื่อการบรรลุเป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ มบส. กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการดำเนินงานได้จัดประชุมโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจระบบการบริหารโครงการให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงตามบริบทการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมดังนี้ การนำเสนอข้อมูลโครงการหลักที่มหาวิทยาลัยราชภัฏร่วมกันจัดทำ จำนวน 9 โครงการหลัก และผนวกโครงการตามบริบท รวมเป็น 10 โครงการหลัก การแบ่งกลุ่มย่อยตามโครงการหลักเพื่อกำหนดโครงการรองมีกิจกรรมตัวชี้วัด ผลผลิต ผลลัพธ์ ที่สอดคล้องกับโครงการหลักและแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ และการนำเสนอข้อมูลจากการแบ่งกลุ่มย่อย

รศ.ดร.ชลลดา กล่าวต่อไปว่า ส่วนวิทยากรในการนำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดี ในฐานะประธานผู้กำกับดูแลโครงการหลัก รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ดร.เบญจวรรณ สุจริต เลขานุการที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ส่วนผู้เข้าร่วมโครงการจะมีผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ผู้รับผิดชอบโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของหน่วยงานจัดการเรียนการสอน และหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวน 120 คน

ด้านผศ.ดร.ลินดา  เกณฑ์มา  อธิการบดี มบส. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏได้ดำเนิน พันธกิจในพื้นที่บริการการศึกษา ตามพันธกิจหลักและการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยได้รับการจัดสรรงบบรรจุไว้ในหมวด “งบยุทธศาสตร์ที่ 4 คือยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางสังคม” ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 สำนักงบประมาณได้พิจารณากรอบการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ (Objective) และผลลัพธ์สำคัญ (Key Result) โดยได้เปลี่ยนแผนงาน/โครงการดังกล่าว บรรจุอยู่ในหมวด “งบพื้นฐาน” ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมีงบฯสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับความต้องการตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ดังนั้นตนหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงผลผลิต ตัวชี้วัดและ ค่าเป้าหมายที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แต่ละระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และระดับมหาวิทยาลัยต่อไป

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments