เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 ว่าตรีเรือตรีชูชีพ อรุณเหลือง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธาน การประชุมดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ในปีงบประมาณ 2567ตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ ดังนี้ ณ โรงแรมทีค การ์เด้น สปา รีสอร์ท อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ดังนี้

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนการร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนากระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการเรียนรู้ ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการเรียนรู้ สนใจและใฝ่หาความรู้อย่างสม่ำเสมอมีกระบวนการทางสังคมที่ส่งเสริมให้บุคคล กลุ่มบุคคล และชุมชนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมของชุมชน ท้องถิ่น สังคม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และสนับสนุนการสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนในการปลูกฝังและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ของประชาชนโดยอาศัยสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรและแหล่งการเรียนรู้ที่มีการให้บริการอย่างครอบคลุมทั่วถึง จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้ทรงภูมิปัญญาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นภาคีเครือข่ายร่วมจัดและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ชำนาญการในภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการปกครองระบอบประชาธิปไตย การเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะ อุดมการณ์ความยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาติและท้องถิ่น เสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองและมีศีลธรรมที่เข้มแข็งรวมถึงการมีจิตอาสา โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการเพิ่มทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ทักษะความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ การสื่อสารระหว่างบุคคล การเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของโลกสมัยใหม่
  3. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร โปรแกรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับสภาวการณ์ของประเทศและทันต่อการเปลี่ยนแปลงโลก โดยมุ่งพัฒนาประชาชนทุกช่วงวัยให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และมีหลักสูตรที่เหมาะสมและเป็นไปตามสภาพความต้องการ และความถนัด จบแล้วมีงานทำสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
  4. จัดให้มีระบบแนะแนวทางสำหรับผู้เรียน (Coaching) เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบแนวทางการเรียนและเป้าหมายชีวิตที่ตนเองชอบ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดระยะเวลาการเรียน
  5. พัฒนาระบบเทียบระดับการศึกษา เทียบเคียงหรือเทียบโอนผลการเรียน ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์และสมรรถนะ ให้มีมาตรฐาน เชื่อมโยงกับการศึกษาและการเรียนรู้ทุกรูปแบบ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเข้าศึกษาหรือการรับรองระดับการศึกษาต่างสถานศึกษาหรือต่างระบบได้ และผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศสามารถเรียนในระดับที่สูงขึ้นโดยไม่ยึดติดกับระยะเวลาในการศึกษา
  6. ว่าตรีเรือตรีชูชีพ กล่าวว่า  6. พัฒนาระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ในธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank System) ที่สามารถเชื่อมโยงการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภท สร้างความคล่องตัวและเปิดทางเลือกให้กับผู้เรียนทุกระดับเพื่อประโยชน์ในการรับรองคุณวุฒิ หรือการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพต่อไป
  1. จัดทำระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ (Digital Learning Platform) ที่รองรับแพลตฟอร์มการ์เรียนรู้แห่งชาติของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งแอปพลิเคชั่นหรือสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพครบวงจรเพื่อการเรียนรู้ ประชาชนสามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ ใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในช่องทางเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ทั้ง Online On-site และ On-air ได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
  2. จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้แบบ STEM Education (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์) ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ทั้งในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และเสริมความสามารถด้าน Soft Skill ควบคู่กับการพัฒนา
  3. พัฒนาความพร้อมในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ อาทิ การสนับสนุนงบประมาณในการลงทุนด้านเทคโนโลยีบูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชนในการสร้างความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารของหน่วยจัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการประชาชน รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือในการสร้างมาตรการส่งเสริมภาคเอกชนเพื่อการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้
  4. พัฒนารูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชน์ พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง อาทิ การพัฒนาความพร้อมของบุคลากรและการให้บริการของหน่วยจัดการเรียนรู้ ห้องสมุดประชาชนมีการบริการที่ทันสมัย ส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน การสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้งพัฒนาสื่อและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
  5. จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพ เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะใหม่ (New Skill) เพิ่มสมรรถนะ (Upskill) หรือทบทวนทักษะ (Reskill) ให้แก่ประชาชน อาทิ ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างแอร์ การค้าขาย การเกษตร ฯลฯเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยประชาชนลดรายจ่ายในครัวเรือน และสร้างเป็นอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัวได้
  6. แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา และส่งเสริมให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) การวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินให้กับบุคลากร โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กระทรวงการคลัง ธนาคาร สหกรณ์ และสถาบันการเงินต่าง ๆ
0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments