วันที่ 26 สิงหาคม 2566 โรงแรมเดอะมาเจสติค สกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2566 และบรรยายพิเศษ โดย นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุม ว่า เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้สอดคล้องตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560 – 2569 และแผนปฏิบัติราชการของ สพฐ.

จากผลการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมเดอะมาเจสติค สกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พบว่าผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย การจัดทำโครงสร้างหลักสูตรรายวิชา การวิเคราะห์ตัวชี้วัด สู่การจัดทำคำอธิบายรายวิชา ที่สอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560 – 2569 ให้สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม และต่อเนื่องในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นระยะที่ 2 เป็นการจัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล เอกสารหลักฐานการศึกษา ปพ. 1-9 การวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้เข้าประชุมได้ลงมือปฏิบัติในทุกขั้นตอน เพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560 – 2569 ได้อย่างสมบูรณ์ สู่การพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มตามศักยภาพ

 

1 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments