สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ดำเนินโครงการการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาจังหวัดอุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู บึงกาฬ  สกลนคร  นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ที่ส่งผลต่อนวัตกรรมของผู้เรียน และเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นอกจากนี้เพื่อให้มีการผลิตสื่อวีดิทัศน์กลยุทธ์การสอนของครูต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps รองรับการขยายผลการยกระดับคุณภาพการศึกษา ขณะเดียวกันยังเป็นการศึกษาวิจัยรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพัฒนาศักยภาพนักเรียนในการสร้างสรรค์ผลิตและบริการ ให้มีมูลค่าเพิ่มและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน และสังคม รวมถึงเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์นวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบ Active Learning  ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ส่งผลเชิงประจักษ์ต่อผู้เรียน และการกระตุ้นการพัฒนาวิชาชีพของครู

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียน แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะต้นน้ำ มีการคัดเลือกวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการการเรียนรู้ GPAS 5 steps ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และดำเนินงานจัดอบรม “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการ GPAS 5 Steps    ของครูสู่การสร้างนวัตกรรมนักเรียน” เพื่อสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมระยะเวลา 2 วัน  

ระยะที่ 2 ระยะกลางน้ำ สร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสู่การสร้างนวัตกรรมนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Communicate: PLC) ผ่านระบบออนไลน์ มีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ การออกแบบและวางแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลสะท้อนคิดแผนการจัดการเรียนรู้ ปรับปรุง และพัฒนาศึกษานิเทศก์ติดตามการส่งแผนการจัดการเรียนรู้ และเรื่องเล่าความสำเร็จ (A3) สร้างสมรรถนะ   การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสู่การสร้างนวัตกรรมนักเรียนผ่านการโค้ช (Coaching) (ลงพื้นที่จริง) พร้อมทั้งคัดเลือกแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก GPAS 5 Steps เพื่อพัฒนานวัตกรรมนักเรียน และเรื่องเล่าความสำเร็จ (A3)  โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกจากการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และการจัดทำเรื่องเล่าความสำเร็จที่สามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูง GPAS 5 steps ที่ส่งผลต่อนวัตกรรมของผู้เรียน

และ ระยะที่ 3 ระยะปลายน้ำ วิทยากรคัดเลือกครูต้นแบบด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูง GPAS 5 Steps จากตัวแทนของสถานศึกษาโดยผ่านกระบวนการ Coaching คัดเลือกครูต้นแบบแต่ละกลุ่มสาระโดยเฉลี่ยมาสร้างแหล่งการเรียนรู้ การประชาสัมพันธ์ความรู้ (KM) ผ่านการจัดทำคลิปวีดีทัศน์   และสร้างเครือข่ายจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงาน และยกย่องเชิดชูเกียรติครูต้นแบบผู้มีผลงานดีเด่น (Best Practice) ด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูง GPAS 5 Steps ระยะเวลา 1 วัน โดยจะจัดนิทรรศการในช่วงเดือนกันยายน 2566 ที่จังหวัดขอนแก่น

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments