เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ดร.อรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ธรรมนูญสุขภาพสถานศึกษา โดย ดร.อรรถพล กล่าวตอนหนึ่งว่า การลงนามครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้ขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพ ของเยาวชนในสถานศึกษาทั่วประเทศ และในฐานะที่ศธ. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเรื่องคุณภาพวิชาการ เพื่อให้นักเรียน เป็นเด็กที่เก่ง ดี มีความสุข ซึ่งเท่านั้นยังไม่พอ มิติของคนยังมีเรื่องสุขภาพ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จึงดำเนินงานขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพของเด็กและเยาวชน ผ่านพ.ร.บ. ว่าด้วยการสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2565  ที่จะขยายผลการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ในส่วนของศธ. จะขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว ของหน่วยงานในสังกัด ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.)ที่มีเยาวชน มีผู้เรียนที่อยู่ในระบบการศึกษา ขณะที่สำนักงานปลัดศธ. จะมี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และ สำนักงานศึกษาธการภาค (ศธภ.) เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อเป็นไปตามข้อตกลง ธรรมนูญ สร้างความตระหนักให้สถานศึกษา  เพื่อให้เยาวชน เติบโตขึ้นไปเป็นผู้มีภูมิคุ้มกัน ทั้งทางร่างกายและสติปัญญา  ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกัน นอกจากเรื่องสุขภาพแล้ว ยังรวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยสติปัญญา ให้เด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันที่ดี ไม่โดนบูลลี่จากเพื่อน ไม่โดนแกล้งจากสังคม ตรงนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อน และสอดคล้องกับนโยบายของศธ.  ที่เน้นเรื่องของความปลอดภัยของผู้เรียนเป็นสำคัญ

ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  กล่าวว่า เด็ก เยาวชน และสถานศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนไทยให้มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสุขภาพที่ดีภายใต้สภาพแวดล้อมที่เกื้อกูล  ให้เติบโตเป็นพลเมืองดีที่มีคุณภาพตามทิศทางการพัฒนาประเทศ ภายใต้กรอบ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 เน้นการพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สร้างสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีและ การพัฒนาศักยภาพคนทุกวัยและทุกระดับ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายระบบสุขภาพและสังคมที่เป็นธรรม

“ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 จะสามารถส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน และผู้ปกครองในการจัดทำธรรมนูญอนามัยโรงเรียน เป็นกรอบและทิศทางในการสร้างความอยู่ดีมีสุขภายในโรงเรียน เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการอาหารและเครื่องดื่มและการจัดการระบบการดูแลสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียน สามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารให้คนในสังคมเข้าใจถึงกรอบและแนวทางของระบบสุขภาพไทยรวมทั้งใช้เป็น อ้างอิงเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดระบบสุขภาพไทย” นพ.ประทีป กล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments