เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยนายนิรุตติ สุทธินนท์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงศึกษาธิการ, นายภูธร จันทะหงษ์ ปุญยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)และ คณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) จังหวัดระนอง ณ กศน.ตำบลเกาะพยาม จ.ระนอง ซึ่งเป็น กศน.ต้นแบบ 5 ดีพรีเมี่ยม พลัส ประจำปีงบประมาณ 2566 ระดับภาคใต้ โดยมี นางนิภา พุ่มกะเนาว์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ อำเภอกระบุรี รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดระนอง กล่าวต้อนรับ
ทั้งนี้ มีการจัดนิทรรศการนำเสนอในประเด็น การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ อาทิเช่น -การทำกาแฟคั่วมือ ซึ่งเป็นเมล็ดกาแฟที่ปลูกบนพื้นที่เกาะพยาม ใช้กระบวนการคั่วด้วยมือตามกรรมวิธีแบบดั้งเดิม – การผลิตเม็ดกาหยู (เม็ดมะม่วงหิมพานต์) โดยนำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เป็นหนึ่งในพืชที่พบมากในพื้นที่มาแปรรูป โดยใช้เทคนิคการคั่วกับเมล็ดข้าวหอมมะลิ ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ที่คั่วด้วยทรายหรือดิน – การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น การสอนอาชีพนำเที่ยว การแสดงควงคบไฟ/กระบองไฟ การนำนักเรียนร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ (การปลูกปะการังเทียม) – กิจกรรมผ้าบาติค เป็นการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อขายเป็นสินค้าของที่ระลึกแก่นักช่วงท่องเที่ยว นอกจากนี้ กศน. เกาะพยาม ได้พัฒนาขีดความสามารถของนักศึกษา สนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออก ผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นักเรียน โดยได้พัฒนานวัตกรรม “โซล่าเซลล์ต้นแบบเกษตรครบวงจร” ได้รับรางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ชนะเลิศในระดับจังหวัด และ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ในระดับประเทศ ซึ่งจัดโดย สกร.
รมว.ศธ.กล่าวว่า เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาในหลายมิติ วันนี้ ก็อยากมาให้กำลังใจการจัดการศึกษาของ จ.ระนอง โดยเฉะาัในพื้นที่เกาะพยาม ซึ่งมีการจัดการศึกษาแบบสแตนอโลน มีทั้งการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จึงอยากมาดูการจัดการศึกษาบนหมูเกาะและสแตนอโลนเป็นอย่างไร รัฐบาลเห็นแล้วว่าโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การศึกษาจึงไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ซึ่งเราเคยมีการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยา หรือ กศน. และวันนี้รัฐบาลก็ได้ผลักดันให้มี พรบ.เปลี่ยนจากกศน.เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่มีพันธกิจเปลี่ยนแปลงไป เพื่อทำให้คนทุกกลุ่มและทุกเพศทุกวัย สามารถเข้าสู่ขบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น เพื่อให้สามรรถพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต เพราะโลกเปลี่ยนไปตลอดเวลา ดังนั้เราต้องไม่หยุดการเรียนรู้ และให้ผู้เรียนสามารถมีคุณวุฒินำไปต่อยอดทางการศึกษาได้ หรือบางคนต้องการแค่พัฒนาทักษะชีวิตเพื่อให้ตัวเองสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
“สำหรับ กศน. ตำบลเกาะพยาม เป็นพื้นที่ได้รับรับรางวัล กศน.ต้นแบบ 5 ดีพรีเมี่ยม พลัส ประจำปี 2566 ระดับภาคใต้ ซึ่งครูและผู้บริหารมีความเข้มแข็งมาก ทุ่มเทในมีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับชุมชน สังคม องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนองค์คาพยพขอการจัดการศึกษาให้ตอบโจทย์ผู้เรียนและตลาดแรงงาน และมีชาวต่างชาติมาร่วมสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งไม่เฉพราะทางวิชาการยังเห็นถึงการนำภูมิปัญญามาปรับใช้ เช่น การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลมมาใช้ภายในพื้นที่ และการทำให้ชุมชนที่มีทั้งกลุ่มมอร์แกน กลุ่มชาติพันธุ์ ต่างชาติ ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น พันธกิจใหม่ของ สกร.จะต้องตอบโจทย์ชุมชน การลงพื้นที่วันนี้ก็ได้รับฟังปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งเรื่องงบประมาณ และบุคลากรที่ยังมีน้อยเกินไป ดังนั้น ศธ.จะนำข้อจำกัดเหล่านี้ไปพิจารณาเพื่อปรับให้สอดคล้องกับพันธกิจและการขับเคลื่อนงานของ สกร.ไปสู่เป้าหมายต่อไป” รมว.ศธ.กล่าว
ด้าน นางนิภา พุ่มกระเนาว์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ อ.กระบุรี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียรนรู้ จ.ระนอง กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมการเรียรนรู้ จ.ระนอง มีสถานศึกษาในสังกัดจำนวน 5 แห่ง มีศูนย์การเรียน 30 แห่ง เป็นหน่วยจัดจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในพื้นที่ให้แก่นักศึกษาและประชาชน และมีแหล่งเรียนรู้ให้บีิการด้านข้อมูลข่าวสารการสืบค้นข้องมูลทางอินเตอร์เน็ต หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ องค์ความรู้ทางภูมิปัญญา เช่นห้องสมุดประชาชนจังหวัด ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ห้องสมุดประชาชนอำเภอ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิประไตยตำบล ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต มีผู้บริหารและบุคลากรในสังกัด สกร.88 คน
“การที่ กศน.เกาะพยามได้รับรางวัลกศน.ต้นแบบ 5 ดีพรีเมี่ยม พลัส ประจำปี 2566 ระดับภาคใต้ เนื่องจากเราได้มีการสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนา เนื่องจาก กศน.ได้รับงบประมาณสนับสนุนน้อยมาก ครูและผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาจึงขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนซึ่งมีทั้งชาวมอแกน พม่า หรือแม้แต่ชาวยุโรปที่มาอยู่ในพื้นที่นี้ ซึ่งการได้รับความร่วมือจากภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรที่มาร่วมกันพัฒนาให้เป็นรูปธรรมที่ชุดเจนขึ้น
นางนิภา กล่าวว่า ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจาก กศน.เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้(สกร.) นี้ เราก็ต้องประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จัก สกร.มากขึ้น และจะทำให้เรามีกลุ่มเป้าหมายในการจัดการศึกษาเพิ่มขึ้นด้วยเพราะกฏหมายเปิดกว้างขึ้น เนื่องจากเราสามารถรับนักศึกษาทุกเพศทุกวัยและสามารรับผู้เรียนที่อายุต่ำกว่า 15 ปีเข้ามาเรียนได้ ดังนั้น เมื่อภารกิจเราเพิ่มขึ้นก็อยากได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาสนับสนุนทั้งด้านบุคลากร เนื่องจากขาดแคลนครูและบุคลกรจำนวนมาก เนื่องจาก1 ตำบล รับผิดชอบนักศึกษา 60 คน แต่มีครูดูแลเพียง 1 คน ซึ่งที่ผ่านมาเราได้ขอความร่วมมือภาคีเครือข่าย เช่น ครูในระบบ ครูภูมิปัญญาที่มีความรู้ความสามารถในพื้นที่มาช่วยเติมเต็ม ทั้งในเรื่องภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และใช้สื่อเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยสอนเสริมให้ผู้เรียน
ขณะที่ น.ส.สุวรรณา บริเพชร์ ครู กศน.ตำบลเกาะพยาม กล่าวว่า กศน.เกาะพยาม ได้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนักศึกษาทั้งหมด 67 คน จัดศึกษาให้กับกลุ่มพม่า มอร์แกน กลุ่มผู้ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ และผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา และมีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง จัดกิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กิจกรรมพัฒนาทักษาชีวิต กิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการสำรวจตามความต้องการของผู้เรียน ส่วนการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.เกาะพยาม ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุดสำหรับกิจกรรมชาวตลาด กิจกรรมบ้าน หลังสือชุมชน โดยเข้าร่วมกับภาคีเครือข่าย