จากกรณี ‘หยก’ ธนลภย์ เยาวชนนักเคลื่อนไหวทางการเมือง โพสต์ข้อความว่า ถูกไล่ออกจากโรงเรียน นั้น เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ทางคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการได้มีประกาศแถลงการณ์กรณีดังกล่าว ว่า

ทั้งนี้ได้รับการเปิดเผยจากทางโรงเรียน ว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2566 ผู้ปกครองคือ มารดาของ น.ส.ธนลภย์ ได้มาติดต่อขอเลื่อนการมอบตัวจากกำหนดการของโรงเรียนคือ วันที่ 2 เมษายน 2566 ออกไป โดยทางโรงเรียนได้ย้ำกับผู้ปกครองว่าต้องมามอบตัวเด็กภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2566 พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มารายงานตัวเพื่อรักษาสิทธิ์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 และให้เด็กมาเข้าเรียนก่อน ซึ่งเด็กก็สัญญาว่าจะนำผู้ปกครองมามอบตัว โดยก่อนถึงวันสุดท้ายที่นัดมอบตัวโรงเรียนได้ประสานผู้ปกครองและติดต่อไปหาคุณพ่อที่จังหวัดร้อยเอ็ดรวมแล้วประมาณ 50 ครั้งได้ ซึ่งโรงเรียนก็รอจนวันสุดท้ายก็ไม่มีผู้ปกครองมามอบตัว โรงเรียนจึงไม่สามารถรับเป็นนักเรียนของโรงเรียนได้ อย่างไรก็ตามในขณะที่น้องมาเรียนแต่ยังไม่ได้มอบตัว โรงเรียนก็พยายามดูแลอย่างดีด้วยความสำนึกถึงความเป็นครูบอกครูทุกคน บอกผู้ปกครองของเด็กคนอื่น รวมถึงแจ้งนักเรียนทุกคน ให้เข้าใจน้องหยก แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถรับได้เนื่องจากพฤติกรรมของหยกเอง

ด้าน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตนได้หารือเรื่องดังกล่าวกับผู้อำนวยการโรงเรียนและกรรมการสถานศึกษา แล้ว ซึ่งทางโรงเรียนได้ชี้แจงรายละเอียด ว่า น้องหยกได้มีชื่อเข้าเรียนชั้นม. 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ แต่ในวันมอบตัวซึ่งทางโรงเรียนกำหนดไว้ในวันที่ 2 เมษายน 2566 น้องหยกไม่สามารถมารายตัวได้ เนื่องจาก ยังถูกควบคุมตัวอยู่ในสถานพินิจ ดังนั้นทางโรงเรียน จึงกันที่นั่งไว้ให้และยืดระยะเวลารายงานตัวเข้าเรียนให้จนถึงวันที่ 10 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่ทางโรงเรียนต้องส่งข้อมูลนักเรียนให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แต่ก็ไม่ได้มีการมารายงานตัวในวันดังกล่าว จึงไม่มีชื่อนักเรียนในฐานข้อมูลระบบ ซึ่งแม้จะไม่มารายงานตัว ทางโรงเรียนและทางราชการ ก็พร้อมให้น้องหยกเข้าเรียน เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้

“ทางคณะกรรมการสถานศึกษาจึงออกแถลงการณ์ชี้แจง เรื่องดังกล่าว และจนถึงวันนี้ หากน้องหยกต้องการเข้ามาเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมพัฒนาการ ก็ยังมีที่นั่งว่างสำหรับให้น้องหยกเข้าเรียน เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ซึ่งมีการทำประชาพิจารณ์สอบถามความคิดเห็นจาก 3 ส่วนคือ ครู นักเรียน และผู้ปกครองก่อนออกมาเป็นข้อกำหนดที่ใช้ร่วมกันภายในสถานศึกษา ดังนั้นผมเองอยากให้สังคมเข้าใจในส่วนนี้ แต่หากน้องหยก ไม่อยากทำตามกติกาดังกล่าว ก็สามารถเลือกเรียนได้ในช่องทางอื่น ๆ ทั้งการศึกษานอกระบบ หรือการเรียนด้วยตัวเองที่บ้านหรือโฮมสคูล เป็นต้น”เลขาธิการ กพฐ.  กล่าวและว่า  ส่วนเรื่องเครื่องแต่งกายจะแต่งชุดนักเรียนหรือชุดไปรเวทมาเรียนนั้น มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ไว้เป็นกรอบ แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานศึกษา ซึ่งมีบางแห่ง กำหนดให้มีการแต่งกายชุดไปรเวทสัปดาห์ละ 1 วัน แต่ต้องเป็นไปตามความคิดเห็นของส่วนรวมที่กำหนดร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง รวมถึงเรื่องทรงผมก็มีการเปิดกว้างให้สถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองสามารถกำหนดได้เอง ทั้งนี้ส่วนตัวอยากให้สังคมเข้าใจ เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่บ่มเพาะให้เด็กเป็นคนดี สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ สิ่งที่กำหนดขึ้นมาเป็นกรอบ เพื่อให้สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้ เช่นเดียวกับประเทศชาติ ที่ต้องมีรัฐธรรมนูญ มีกฎหมาย เป็นกรอบในการดำเนินชีวิต เพื่อประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีคู่มือนักเรียน ครูและผู้ปกครองของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ระบุว่า “ต้องไม่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีความ หรือการถูกลงโทษทางกฎหมาย” นั้น ตนยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ในการยกร่างแถลงการณ์ของกรรมการสถานศึกษา ไม่มีเรื่องดังกล่าว ซึ่งโดยหลักการแล้วไม่สามารถกำหนดเช่นนั้นได้ เพราะถือเป็นการริดรอนสิทธินักเรียน

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments