เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 ที่จังหวัดพัทลุง นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)พัทลุง เขต 2 ที่โรงเรียนบ้านท่านางพรหม (ธนาคารกรุงเทพ 8) อำเภอเขาชัยสน และ โรงเรียนมิตรมวลชน 1 อำเภอป่าบอน โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู  นักเรียนให้การต้อนรับและนำชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งทั้ง 2 โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จัดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล 2 – ประถมศึกษาปีที่ 6

 

โดย ..ตรีนุช กล่าวว่า โรงเรียนบ้านท่านางพรหม เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน122 คน แต่สามารถทำเป็นโรงเรียนคุณภาพได้ โดยผู้บริหารและครูมีศักยภาพสามารถเชื่อมโยงกับชุมชน และท้องถิ่นให้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาทรัพยากรที่ขาดแคลนร่วมกัน และถึงแม้จะมีปัญหาขาดแคลนครู มีครูไม่ครบชั้น แต่ก็ยังจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเพิ่มรายวิชาในการจัดการเรียนการสอนได้ด้วย โดยผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูรุ่นใหม่ใช้เทคนิกการสอนแบบใหม่ ๆเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ อย่างมีความสุข ไม่น่าเบื่อ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่ให้เด็กมีความสุขกับการมาโรงเรียน ส่งผลให้คะแนนการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต มีนักเรียนทำคะแนนได้ 100 เต็ม ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีมาก

ส่วนเรื่องของโภชนาการซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญ โดยที่ผ่านมาได้อนุมัติเพิ่มงบอาหารกลางวันแบบขั้นบันได ใช้งบกว่าปีละ3,000 บ้านบาท วันนี้ได้มาเห็นว่าโรงเรียนสามารถจัดอาหารให้เด็กได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทำให้เด็กมีสุขภาพดี ก็ขอชื่นชมผู้บริหารและครูของโรงเรียนที่สามารถใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญคือโรงเรียนนี้มีจุดแข็งตรงที่ มีชุมชน และภาคเอกชน เป็นเครือข่าย ช่วยพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ..ตรีนุช กล่าวและว่า ส่วนโรงเรียนมิตรมวลชน 1  มีนักเรียน 43 คน และด้วยจำนวนนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (...) กำหนด ทำให้ไม่สามารถมีตำแหน่งผู้บริหารได้ แต่ทางเขตพื้นที่ฯได้จัดให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาข้างเคียงเข้ามารักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งจากศักยภาพผู้บริหารและความร่วมมืออันดียิ่งจากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ชุมชน ภาคประชาสังคม และมีกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบ ส่งผลให้โรงเรียนแห่งนี้ สร้างการศึกษาที่มีคุณภาพแก่เด็กในพื้นที่ และยังสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่แก่กลุ่มชาติพันธุ์มานิ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาบรรทัดที่เชื่อมต่อระหว่างตรังพัทลุง ให้สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีโลกปัจจุบันได้ด้วย

 

 “ ดิฉันได้เน้นย้ำให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลงพื้นที่สถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้พบปะพูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ได้รับทราบปัญหาต่างๆ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาให้โรงเรียนอย่างตรงจุด ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชุมชนพื้นที่ จังหวัด และในภาพรวมของประเทศต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศต่อไป ซึ่งในการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก นั้น สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพโดยใช้แนวทางโรงเรียนคุณภาพ คือ มีการนำนักเรียนมาเรียนรวม มีการจัดแผนงานร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย ในการใช้ทรัพยากรใช้ร่วมกัน  มีการสร้างความพร้อมด้านอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์การศึกษา รวมถึงสนับสนุนจ้างครูภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ที่จะสร้างเสริมคุณภาพทางวิชาการ มีการสร้างทักษะอาชีพให้นักเรียน ด้วยกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย และขอให้เขตพื้นที่ฯและโรงเรียนพิจารณาจุดแข็งของบริบทในพื้นที่และชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถพัฒนาเป็น Soft Power มาบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งมีหลายโรงเรียนทำได้ดี และขอให้มีการจัดเก็บข้อมูลความสำเร็จในการดำเนินงาน เพื่อนำมาใช้วัดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการยกระดับโรงเรียนคุณภาพ เพื่อขยายผลคุณภาพการศึกษาสู่นักเรียนของโรงเรียนเครือข่ายต่อไปด้วยรมว.ศึกษาธิการกล่าว

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments