เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 ที่ วิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิด“โครงการติดตามการพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) ให้กับผู้เรียน และประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พร้อมมอบนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาและการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ” ในโอกาสนี้ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มอบรถมอบรถเข็นและรถเข็นโยก แก่ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 2 คัน จัดทำโดยศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 (วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี)
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ เปิดเผยว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และแผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาต้องการจําเป็นพิเศษ และเพื่อให้การขับเคลื่อนการดําเนินงานเกิดประสิทธิภาพ และพบว่ากลุ่มผู้พิการกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค โดย สอศ. ตระหนักและเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนอาชีพจะเข้าถึงผู้เรียนพิการ และสามารถสร้างองค์ความรู้ ให้แก่ผู้เรียนพิการ การฝึกทักษะอาชีพสร้างงานเพื่อให้ผู้พิการมีอาชีพ สามารถทํางานและเลี้ยงดูตนเองได้ มีสิทธิเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไปในสังคม จึงเป็นโอกาสอันดีที่ภาคีเครือข่ายจะได้ร่วมดำเนินการพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) ให้กับผู้เรียน และประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ให้มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไป ช่วยกันพัฒนาผู้เรียนพิการ และประชาชนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ ให้มีองค์ความรู้ มีทักษะอาชีพ สามารถนําไปต่อยอดการดํารงชีวิตเข้าสู่สถานประกอบการ หรือ ตลาดแรงงานได้ ด้วยอาชีวศึกษา โดยไม่เป็นภาระของสัมคม มีเงินเก็บ มั่นคง มั่งคั่ง มีความสุขกับ การดํารงชีวิต รวมทั้งเป็นการให้ความรู้ ฝึกทักษะอาชีพ สร้างงานเพื่อให้ผู้พิการมีอาชีพ สามารถทำ งานและได้เลี้ยงดูตนเอง โดยไม่เป็นภาระของสังคมต่อไป
ในโอกาสนี้ สอศ. โดยศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา(ศพอ.) จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัดกระบี่ กับ เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 29 แห่ง เพื่อเสริมทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย หน่วยงานในพื้นที่ ให้ผู้พิการได้รับโอกาสสร้างความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้กับผู้ต้องการพิเศษ และการแสดงนิทรรศการจัดการอาชีวศึกษาและการพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) อาทิ วิชาผลิตภัณฑ์ผ้าด้วยเทคนิคภาพพิมพ์บนผิวน้ำ โดยวิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่ ห้องเรียนตัดผมเคลื่อนที่ โดยวิทยาลัยการอาชีพตรัง งานขนมปาท่องโก๋แลดโดนัท โดยวิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก หลักสูตรซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 (วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช) หลักสูตรขนมปังไส้ทะลัก และโรตีกรอบ ศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 (วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี)