วันนี้(8 ..)ผศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี หัวหน้าศูนย์วิจัยและรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้ริเริ่มงานวิจัยเพื่อสนองนโยบายการใช้ยางพาราในประเทศ ของรัฐบาลมาตั้งแต่ ปี พ..2556 จนเกิดเป็นถนนยางพารา ที่เรียกว่า “ถนนยางพาราดินซีเมนต์” ซึ่งเป็นประโยชน์กับเกษตรกรชาวสวนยางพารา เพราะมีการใช้น้ำยางพาราในการทำถนนยางพาราดินซีเมนต์ แต่ต่อมาได้มีการนำงานวิจัยของ มจพ.ไปอ้างอิงและมีการวิจารณ์ที่คลาดเคลื่อน ดังนั้น มจพ.จึงขอชี้แจงว่า มจพ.ได้มีการทำวิจัยเรื่องนี้มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 โดยใช้เวลามากกว่า 2 ปี ในการคิดค้นจนได้สูตรการผสมกับทั้งน้ำยางพาราสดและน้ำยางพาราข้น ทำให้น้ำยางพารารวมเป็นเนื้อเดียวกัน (ไม่แยกชั้น) และได้มีการทดสอบถนนสายแรก ที่ มจพ.วิทยาเขตปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 12 .. 2559 โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องมือเครื่องจักรและกำลังพลจากกองทัพบก โดยเฉพาะกำลังจากกองพลที่ 2 รักษาพระองค์และทหารช่าง จังหวัดปราจีนบุรี หลังจากทดสอบกับถนนสายแรกที่ มจพ.ปราจีนบุรีแล้ว มจพ.ได้นำไปก่อสร้างถนนจริงเป็นต้นแบบในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น อ.เซกา จ.บึงกาฬ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ล่าสุด อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู และ ในวันที่ 12 ..นี้ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่เยี่ยมชมการทำถนนยางพาราดินซีเมนต์ที่จังหวัดบึงกาฬ

ผศ.ดร.ระพีพันธ์ กล่าวต่อไปว่า มจพ.ทำการวิจัยนี้ก่อนที่รัฐบาลจะมีนโยบาย เรื่องก่อสร้างถนนยางพารา ซึ่งหลังจากที่รัฐบาลมั่นใจว่าสามารถทำได้ โดยมีนโยบายให้ใช้กับถนนรอง ถนนเชื่อมหมู่บ้าน เชื่อมตำบล จึงได้ให้ทาง มจพ.ร่วมทำวิจัยกับอีกหลายหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยาง โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรีเคยมีบัญชาออกรายการเดินหน้าประเทศไทย ให้นำยางพาราดินซีเมนต์มาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในการสร้างถนนปลอดฝุ่น

การใช้น้ำยางพาราสดเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างถนน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวสวนยาง เป็นงานวิจัยที่ มจพ. ทุ่มเททำมาโดยตลอด แต่ ปรากฏว่ามีบางหน่วยงานนำข้อมูลของ มจพ.ไปเสนอบิดเบือน และพยายามกีดกัน มจพ.ไม่ให้มีชื่อเข้าร่วมโครงการสร้างถนนยางพาราของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา ที่ผ่านมา มจพ. ไม่เคยตอบโต้ข่าวที่บิดเบือน ถ้าไม่ทำให้ มจพ.เสียชื่อเสียง แต่ตอนนี้ มจพ.ต้องขอนำความจริงมาเสนอ เพื่อให้สังคม ประชาชน และเกษตรกรชาวสวนยางได้รับรู้ ว่า ผลการค้นคว้าหรือวิจัยของ มจพ. พบว่าการใช้น้ำยาดัดแปรร่วมกับน้ำยางพาราสด ส่งผลให้คุณสมบัติของถนนมีความแข็งแรงทนทาน ป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดีกว่าการใช้น้ำยางข้นมาละลายน้ำใช้ทำถนน”ผศ.ดร.ระพีพันธ์ กล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments