เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม กมว. ว่า ที่ประชุมเห็นชอบ(ร่าง) ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง คุณสมบัติของผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พ.ศ. …. โดยประกาศฉบับนี้จะมีความชัดเจนว่าครูควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรในการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม ประกาศฉบับนี้ มีหลักการว่าจะต้องไม่สร้างความยุ่งยากวุ่นวายให้กับครูที่จะขอต่อใบอนุญาตด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ว่าจะทำอย่างไรให้รางวัลนี้มีผลกระทบในวงกว้างขึ้น นอกเหนือจากการเป็นประโยชน์แก่ตัวของครูที่ได้รับรางวัลเท่านั้น เช่น การทำให้เกิดแรงบันดาลใจกับครูในภาพรวม หรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนอยากจะเป็นครู และทำให้สังคมตระหนักและเห็นคุณค่ามาตรฐานวิชาชีพครู เป็นต้น  ซึ่ง กมว.จะถอดบทเรียนของครูที่เคยได้รับรางวัล เพื่อมายกระดับมาตรฐาน และศักดิ์ศรีของวิชาชีพครูต่อไป

ประธาน กมว.กล่าวต่อไปว่า  นอกจากนี้ กมว.ได้พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กับครูที่กระทำความผิดร้ายแรงไปจำนวน 3 ราย ทั้งนี้ กมว.จะเร่งสะสางคดีความเก่าให้เสร็จโดยเร็ว ที่จากเดิมที่มีอยู่ 1,200 คดี  ยังพิจารณาไม่เสร็จอีกประมาณ 700-800 คดี อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเป็นการดำเนินการปลายน้ำ ต้องจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ คือ จะทำอย่างไรไม่ให้ครูกระทำผิด ทำอย่างไรให้ครูเกิดความสำนึก ละอายใจที่จะไม่กระทำความผิด ซึ่งต่อไปหาก กมว.พิจารณาคดีค้างคาเสร็จแล้ว ก็จะดำเนินการจัดการต้นน้ำต่อไป ซึ่งจะเริ่มจากการสร้างความตระหนักให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู ให้เข้าใจว่านอกจากการทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว จะต้องระมัดระวังเรื่องจรรยาบรรณด้วย เพราะอาจจะมีครูหลายคนไม่คิด ว่าสิ่งที่ทำนั้น เป็นสิ่งที่ผิด

“การลงโทษในเรื่องของจรรยาบรรณ กมว.มีอำนาจสูงสุด คือ เพิกถอนใบอนุญาตเท่านั้น ซึ่งการเพิกถอนใบอนุญาต จะมีระยะเวลา 5 ปี ซึ่งครูที่ถูกเพิกถอนจะสามารถยื่นคำร้องขอกลับมาเป็นครูใหม่ได้ แต่การยื่นคำร้องขอกลับเป็นครูนี้ ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับการอนุมัติ เพราะกมว.จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ถ้าใครมีความผิดร้ายแรง กมว.ก็จะไม่อนุมัติ ส่วนจะมีแนวทางที่จะกำหนดให้มีการเพิกถอนตลอดชีวิตหรือไม่ มองว่า เราจะต้องให้โอกาสคน ในกรณีที่ครูกระทำผิดไม่แรงร้าย หรือทำพลาดแบบไม่มีเจตนาร้าย  หลังจากถูกเพิกถอนใบอนุญาต แต่กลับตัวกลับใจก็ควรจะได้รับโอกาสในการกลับมาเป็นครูอีกครั้ง” รศ.ดร.ศิริเดช กล่าว

รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม กมว. ว่า ที่ประชุมเห็นชอบ(ร่าง) ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง คุณสมบัติของผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พ.ศ. …. โดยประกาศฉบับนี้จะมีความชัดเจนว่าครูควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรในการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม ประกาศฉบับนี้ มีหลักการว่าจะต้องไม่สร้างความยุ่งยากวุ่นวายให้กับครูที่จะขอต่อใบอนุญาตด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ว่าจะทำอย่างไรให้รางวัลนี้มีผลกระทบในวงกว้างขึ้น นอกเหนือจากการเป็นประโยชน์แก่ตัวของครูที่ได้รับรางวัลเท่านั้น เช่น การทำให้เกิดแรงบันดาลใจกับครูในภาพรวม หรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนอยากจะเป็นครู และทำให้สังคมตระหนักและเห็นคุณค่ามาตรฐานวิชาชีพครู เป็นต้น  ซึ่ง กมว.จะถอดบทเรียนของครูที่เคยได้รับรางวัล เพื่อมายกระดับมาตรฐาน และศักดิ์ศรีของวิชาชีพครูต่อไป

ประธาน กมว.กล่าวต่อไปว่า  นอกจากนี้ กมว.ได้พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กับครูที่กระทำความผิดร้ายแรงไปจำนวน 3 ราย ทั้งนี้ กมว.จะเร่งสะสางคดีความเก่าให้เสร็จโดยเร็ว ที่จากเดิมที่มีอยู่ 1,200 คดี  ยังพิจารณาไม่เสร็จอีกประมาณ 700-800 คดี อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเป็นการดำเนินการปลายน้ำ ต้องจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ คือ จะทำอย่างไรไม่ให้ครูกระทำผิด ทำอย่างไรให้ครูเกิดความสำนึก ละอายใจที่จะไม่กระทำความผิด ซึ่งต่อไปหาก กมว.พิจารณาคดีค้างคาเสร็จแล้ว ก็จะดำเนินการจัดการต้นน้ำต่อไป ซึ่งจะเริ่มจากการสร้างความตระหนักให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู ให้เข้าใจว่านอกจากการทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว จะต้องระมัดระวังเรื่องจรรยาบรรณด้วย เพราะอาจจะมีครูหลายคนไม่คิด ว่าสิ่งที่ทำนั้น เป็นสิ่งที่ผิด

“การลงโทษในเรื่องของจรรยาบรรณ กมว.มีอำนาจสูงสุด คือ เพิกถอนใบอนุญาตเท่านั้น ซึ่งการเพิกถอนใบอนุญาต จะมีระยะเวลา 5 ปี ซึ่งครูที่ถูกเพิกถอนจะสามารถยื่นคำร้องขอกลับมาเป็นครูใหม่ได้ แต่การยื่นคำร้องขอกลับเป็นครูนี้ ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับการอนุมัติ เพราะกมว.จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ถ้าใครมีความผิดร้ายแรง กมว.ก็จะไม่อนุมัติ ส่วนจะมีแนวทางที่จะกำหนดให้มีการเพิกถอนตลอดชีวิตหรือไม่ มองว่า เราจะต้องให้โอกาสคน ในกรณีที่ครูกระทำผิดไม่แรงร้าย หรือทำพลาดแบบไม่มีเจตนาร้าย  หลังจากถูกเพิกถอนใบอนุญาต แต่กลับตัวกลับใจก็ควรจะได้รับโอกาสในการกลับมาเป็นครูอีกครั้ง” รศ.ดร.ศิริเดช กล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments