เมื่อวันที่17 มีนาคม 2566 ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) เป็นประธานพิธีรับมอบเครื่องจักร CNC และ Robot เพื่อให้สถานศึกษาอาชีวศึกษานำไปใช้ในการฝึกทักษะแก่นักเรียน-นักศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธาน อนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพยานยนต์และชิ้นส่วน และนายพิเชษฐ จันสกุลวิบูรณ์ ที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาบุคลากร สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และผู้บริหารบริษัท 6 แห่ง ในสมาคมฯ ร่วมในพิธี โดยมีว่าที่พันตรีวัชรพล ลักษณลม้าย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา เลขานุการคณะอนุกรรมการ อ.กรอ.อศ. กล่าวต้อนรับ ณ A.C.A. Warehouse ต.นาป่า อ.เมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

เลขาธิการ กอศ.กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัท เอกชนขนาดใหญ่ ซึ่งหน่วยงานภาคีเครือข่าย เห็นตรงกันว่า กำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนากลไก และยกระดับความร่วมมือ (Cooperation) การจัดอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานที่ต้องการกำลังคนในแต่ละสาขา ให้มีการพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เช่นการจัดอาชีวศึกษาระบบ ทวิภาคี รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการเรียนการสอน เพื่อจะสร้างผู้เรียน ที่ตอบโจทย์ โดยเชื่อมโลกอาชีพกับโลกการศึกษา เข้าไว้ด้วยกันและวันนี้จึงเป็น วันที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายความร่วมมือคุณภาพสูง ร่วมกันระดมทรัพยากรและยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษา และ ที่สำคัญ คือ เป็นการสร้างความเข้มแข็งระหว่างสอศ. กับ อ.กรอ.อศ. เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาในระดับประเทศ

“วันนี้ นับเป็นอีกก้าวของการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง โดยบริษัท 6 แห่ง ในสมาคมฯ ดังนี้ 1. บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง 2. บริษัท สยามคาลโซนิค จำกัด 3. บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด 4. บริษัท เอ็นที เซ อิ มิท ซุ (ประเทศไทย)จำกัด 5. บริษัท เอ็น ที ทูล (ไทยแลยด์) จำกัด 6. บริษัท สุมิพล คอร์ปปอเรชั่น จำกัด ได้ร่วมสนับสนุนทรัพยากร บริจาค เครื่องจักรจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ CNC และ Robot เพื่อให้สถานศึกษาได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยเทคนิคตราด วิทยาลัยเทคนิคนครนายก วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี วิทยาลัยเทคนิคขาณุวรลักษบุรี วิทยาลัยเทคนิคนางรอง วิทยาลัยเทคนิคลำปาง วิทยาลัยการอาชีพนวมิทราชินี มุกดาหาร และ วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม”ว่าที่ร้อยตรีธนุ กล่าว

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments