ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ กพฐ.ให้ปฏิบัติหน้าที่ในการกล่าวรายงานการจัดงาน “สร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยวิทยาศาสตร์และ CODING” และร่วมเสวนา แลกเปลี่ยนมุมมองการศึกษาไทยในยุค VUCA World ณ ลานกิจกรรม ชั้น G Avenue Zone A (ใต้ลาน Skywalk) MBK Center โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา ผู้บริหารและบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องกว่า 300 คน เข้าร่วมงานในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ คณะกรรมการ CODING แห่งชาติ และดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ควอนตัม เทคโนโลยี ฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) จํากัดหรือ QTFT ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษด้วย
ดร.เกศทิพย์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ในการพัฒนาและบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เพื่อสร้างความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างตรรกะความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล ให้นักเรียนไทยสามารถแข่งขันได้กับนานาชาติ การพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (CODING) สำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทัลในโลกยุคใหม่ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรมให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งได้ อาทิ CODING FOR LIFE บูรณาการตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดย โรงเรียนอนุบาลศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี Survivor Game โดย โรงเรียนบ้านบึงตะกาด จ.ระยอง CODING FOR OCCUPATION บูรณาการในงานอาชีพ โดย โรงเรียนบ้านหนองไผ่ จ.กาญจนบุรี GAME BASED GAME BOARD KOKHA LAND โดย โรงเรียนเกาะคาวิทยาคม จ.ลำปาง CODING ชายทุ่ง หมายมุ่ง ฟ.ฟาร์ม โดย โรงเรียนร่วมจิตประสาท จ.ปทุมธานี อัจฉริยะภาพเกษตรประณีต โดย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จ.ปทุมธานี เป็นต้น ทั้งนี้ ดร.คุณหญิงกัลยา เสาวนา หัวข้อ “การศึกษาไทย ภายใต้ VUCA World” ด้วย เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอันผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ (Vuca World) จึงต้องมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอน สพฐ.จึงได้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วย CODING ทั้ง Unplugged CODING และ Plugged CODING ซึ่งเป็นการจัดสถานการณ์ให้นักเรียนได้คิดอย่างมีเหตุผล มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน ส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพและลงถึงพฤติกรรมของนักเรียน สามารถนำความรู้ไปต่อยอดและตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวัน สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี การเพิ่ม “A” (ART) จาก stem เป็น steam ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นไทย ทั้งวิถีชีวิต วิถีชุมชน รวมทั้งสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ทำให้เกิดความรักในรากเหง้าของความเป็นไทย และเกิดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรชาติ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ฯ ในด้านบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรฯ 8+1 ที่เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ จะมุ่งเน้นที่กระบวนการบูรณาการการเรียนรู้ความเป็นไทยเข้ากับทุกๆ วิชา นำเอาเนื้อหาบริบทของแต่ละพื้นที่มารวมกับ CODING ทำให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และวางแผนอย่างเป็นระบบ เผยแพร่ออกมาเป็นคุณค่าทำให้เกิดมูลค่าได้
รองเลขาธิการกพฐ.กล่าวต่อไปว่า การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ด้วย Active Learning การเรียนรู้ที่นักเรียนได้คิดได้วิเคราะห์ จากแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงใจนักเรียนได้ เช่น สื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (VR : Augmented Reality) การเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ ผ่านธนบัตรไทยรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จากสิ่งใกล้ตัว การประเมินผล ซึ่ง สทศ.มี PISA LIKE สำหรับการฝึกอ่านและจับใจความ เตรียมความพร้อมด้านการฉลาดรู้วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นการอ่านแล้วนักเรียนสามารถอ่านสิ่งที่เป็นองค์ความรู้โดยรวม ไม่แยกรายวิชา และสามารถคิดวิเคราะห์ออกมาด้วยเหตุและผลได้ นอกจากนั้นยังมีการดำเนินการเรื่องต่างๆ ที่เห็นผลเชิงประจักษ์ เช่น โครงการอัจฉริยะเกษตรประณีต รร.ในพื้นที่ห่างไกลได้นำ CODING มาใช้ สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ทำการเกษตรได้อย่างดี รวมทั้งเรื่องคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงด้านต่างๆ ให้ประเทศ จากการชนะเลิศการแข่งขันระดับนานาชาติหลายเวที