เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2566 ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้ลงพื้นที่ตรวจราชการ เปิดกิจกรรมการขับเคลื่อนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภูมิภาค: ภาคใต้จ.นครศรีธรรมราช “นครแห่งอารยธรรม งามล้ำพระพุทธศาสนา ศรีธรรมราชา อาณาจักรตามพรลิงค์” ณ สวนศรีธรรมโศกราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี ผู้บริหารระดับสูง สพฐ. รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ปลัดจังหวัด นายกเทศบาลเมืองฯ ผู้บริหารและบุคลากรของ สพม.นครศรีธรรมราช สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1-4 ศธจ. และผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดใกล้เคียง สาธารณสุข สภาวัฒนธรรม สำนักพระพุทธศาสนาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนักเรียน จากโรงเรียนในสังกัด สพม.นครศรีธรรมราช และ สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 – 4 กว่า 1,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
รองเลขาธิการกพฐ. กล่าวว่า การจัดกิรกรรมดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสคิดวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ โดยไม่ใช่การเรียนรู้แบบท่องจำ ทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ด้วยการใช้ AR สื่อร่วมสมัย รวมถึงการเรียนรู้จากสถานที่จริง โดยสำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้กำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ที่มุ่งเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรมให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน และมอบนโยบายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยจัดให้มีการเสวนาเรื่อง “หลากหลายวัฒนธรรมประเพณี บ่มเพาะคนดีศรีนคร” โดย คุณกิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ (ครูลิลลี่), ท่านครรชิต มนูญผล ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ, ว่าที่ ร.ต.ศรายุทธ เจียรมาศ นายอำเภอพระพรหม และนักเรียนโรงเรียนพิปูนสังฆรักษ์ประชาอุทิศ
“การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเรื่องราวต่างๆในอดีตที่ถูกต้อง โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งยืนยันอ้างอิง นอกจากนี้ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีมูลค่า จะต้องมีคุณค่าก่อน เพราะคุณค่า คือสิ่งที่บรรพบุรุษ สร้าง สืบทอด ส่งต่อให้เรา จนเราสามารถนำมาสร้างมูลค่าได้ในปัจจุบัน สิ่งต่างๆเหล่านี้บรรพบุรุษของเราได้ส่งต่อให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา หน้าที่สำคัญของเราคือ รักษา สืบทอด ส่งต่อให้รุ่นลูกหลานต่อไป”ดร.เกศทิพย์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมระบำสราญราษฎร์สักการะ จากวิทยาลั นาฏศิลป์นครศรีธรรมราช และรำมโนราห์ โดยนักเรียนสังกัด สพม.นครศรีธรรมราช จาก 10 โรงเรียน เป็นจำนวน 60 คน นิทรรศการ จาก 12 สหวิทยาเขต สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ สพม.นครศรีธรรมราชได้แก่ สหวิทยาเขตเบญจม : อาณาจักรตามพรลิงค์ มรดกทางวัฒนธรรม สู่มรดกโลก สหวิทยาเขตกัลยาณี : เรื่องเล่าหน้าเมือง ลือเลื่องเมืองคอน สหวิทยาเขตพระพรหม-เฉลิมพระเกียรติ : พระพรหม-เฉลิมพระเกียรติ ในประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช สหวิทยาเขตทุ่งสง : ตามรอยทุ่งสง บางขัน สหวิทยาเขตสตรีทุ่งสง : พ่อท่านคล้ายและชุมชนโบราณ สหวิทยาเขตร่อนพิบูลย์-จุฬาภรณ์ : ดินแดนประวัติศาสตร์ ร่อนพิบูลย์-จุฬาภรณ์ สหวิทยาเขตต้นน้ำตาปี : ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ดินแดนต้นน้ำตาปี อ.ฉวาง อ.พิปูน อ.ถ้ำพรรณรา สหวิทยาเขตทุ่งใหญ่ : วัดโบราณในพื้นที่ทุ่งใหญ่ สหวิทยาเขตหัวไทร-เชียรใหญ่ : ภูมิใจหัวไทรเชียรใหญ่บ้านเรา สหวิทยาเขตปากพนัง-เชียรใหญ่ : เล่าเรื่อง เมืองลุ่มน้ำ สหวิทยาเขตชะอวด : ชะอวดกับประวัติศาสตร์ผ่านรางรถไฟ สหวิทยาเขตสิชล-ขนอม : สิชล-ขนอม ตำนานลือเลื่อง เมืองอารยธรรม สหวิทยาเขตท่าศาลา-นบพิตำ-พรหมคีรี : ชุมชนโบราณโมคลาน สพม.นครศรีธรรมราช : หลักสูตรนครศรีธรรมราชศึกษาออนไลน์
ดร.เกศทิพย์ กล่าวต่อไปว่า ความยากในการขับเคลื่อนองค์ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทยและหน้าที่พลเมือง คือ การทำให้เด็ก GEN – Z ในยุคปัจจุบันได้เรียนรู้โดยเข้าถึงใจของนักเรียน จึงไม่ควรเน้นการเรียนการสอนแบบท่องจำ แต่จะต้องทำให้นักเรียนทุกคนเรียนรู้อย่างมีความสุขและเกิดความคุ้นชิน และทำให้นักเรียนเห็นคุณค่า ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ซึ่งให้นักเรียนมีโอกาสคิด วิเคราะห์ ถกแถลงประเด็นและสามารถสื่อสารออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 การบ่มเพาะคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ประการ มิใช่เพียงแค่ให้เกิดกับนักเรียนคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องให้เกิดขึ้นกับนักเรียนทุกๆ คน โดยบ่มเพาะจนเป็นพฤติกรรม ผ่านการบูรณาการ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายและมีความหมาย ซึ่งควรเป็นทักษะต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ ที่เราจะสามารถจดจำได้และเป็นนิสัยติดตัว การขับเคลื่อนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นหน้าที่ที่สำคัญของเราทุกคนต้องดำเนินการไปด้วยกัน ”บทเรียนของประวัติศาสตร์จะนำไปสู่การมีคุณค่าในปัจจุบัน และสร้างมูลค่าในอนาคตให้กับประเทศของเราได้เป็นอย่างดีโดยผ่านเด็กยุค GEN – Z