วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) เป็นประธานเปิดการประชุมติดตามการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)ในการผลิตและพัฒนากำลังคน อาชีวศึกษาสมรรถนะสูงประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยมีผู้บริหาร สอศ. ผู้บริหารสถานศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหารจากกรมการจัดหางาน กรมสรรพพากร สภาเกษตรกร สภาอุตสหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสระแก้ว (วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว) จังหวัดสระแก้ว

ว่าที่ร้อยตรีธนุ เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อให้การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เป็นหลักในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภายใต้แนวคิด “อาชีวะพร้อม การศึกษาพร้อม ประเทศไทยเดินหน้า” โดยมีการนำเสนอขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน (Quick win) จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่
1. การยกระดับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในทุกระดับการศึกษา โดยผลการดำเนินการคือการเสริมสร้างการประชาสัมพันธ์และการแนะแนวเชิงรุก มุ่งเป้าหมายคือผู้ปกครอง ส่งเสริมการเพิ่มภาคีเครือข่าย ผ่าน 4 สภา (สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาการท่องเที่ยว สภาเกษตรกร) สนับสนุนการจัดกิจกรรมอบรมครู นิเทศนักเรียน นักศึกษา และกำหนดการปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการโดยติดตามและรายงานผล โดยสถานประกอบการเพื่อรับรองการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ที่อยู่ใน 5 จังหวัด (สระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทราและสมุทรปราการ) มีจำนวนประมาณ 2,500 แห่ง
2. การยกระดับโครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ มีแผนการสร้างการรับรู้โดยการประชุมผู้บริหารสถานศึกษา จัดทำรายงานและขอเปิดรับนักเรียนนักศึกษารุ่นที่ 2 ปี 2566 โดยที่ผ่านมามีสถานศึกษาเข้าร่วมแล้ว 88 แห่ง
3. การขับเคลื่อนโครงการทวิศึกษาแนวใหม่ โดยที่ผ่านมา มีการดำเนินไปแล้ว มี สอจ. ขอความร่วมมือในการรับนักศึกษา ปี 2566 โดยจะพิจารณาเป็นรายจังหวัด โดยออกแบบทวิภาคี ให้ตอบโจทย์สถานประกอบการให้มากที่สุด
4. การขับเคลื่อนศูนย์อาชีวะช่วยประชาชน
โดยมีการอบรมช่างชุมชน ประสานชุมชนเพื่อสำรวจความต้องการ จัดทำหลักสูตร อบรมช่างชุมชน ประเมินและมอบวุฒิบัตร เครื่องมือช่าง เพื่อให้ช่างชุมชนสามารถนำวิชาชีพไปฝึกอาชีพให้กับประชาชนได้ โดยมีเป้าหมายจำนวนช่างชุมชนใน 3 จังหวัด (สระแก้ว นครนายก และปราจีนบุรี) 500 คน และมีโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ศูนย์อาชีวะช่วยประชาชน (เทศกาลปีใหม่) และกิจกรรมเพื่อชุมชน มุ่งให้นักเรียนนักศึกษา เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจิตอาสา
5. การขับเคลื่อนศูนย์ความปลอดภัย โดย MOU ทางปลอดภัยทางถนน อบรมอาชีวศึกษาปลอดภัยในสถานศึกษา (เด็กแล้วเยาวชนก่อการดี) มาตรการป้องกันการทะเลาะวิวาท โครงการลดปัญหาการตั้งครรภ์ และตรวจสุขภาพประจำปีนักเรียนนักศึกษา โดยมุ่งสร้างค่านิยมการเรียนอาชีวะให้มีความปลอดภัย เรียนจบได้งาน มีเงินเก็บ เป็นสถานศึกษาแห่งความสุข
6. การปฏิรูปกลุ่มวิทยาลัยเกษตรและประมง โดยจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตร ผลิตและพัฒนาทักษะกำลังคน จัดทำโครงการ Smart Farm จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Ag_OVEC Learning Center)โดยมุ่งหวังการบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน เน้นจัดการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments