เมื่อวันที่  16 กุมภาพันธ์ 2566 ที่โรงแรมเดอะ รอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด(ประเทศไทย) ร่วมกับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) โดยนายชาญชัย ไชยพิศ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ นายกสมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด(ประเทศไทย) กล่าวว่า จริง แล้วกระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning ลงสู่โรงเรียนมานานแล้ว แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด– 19  ได้เกิดLearning loss หรือภาวะการสูญเสียการเรียนรู้ของเด็ก หรือ ที่เรียกว่า ภาวะการเรียนรู้ถดถอยในเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งการเรียนผ่านระบบออนไลน์ก็ไม่สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาได้ ทำให้เราต้องหาวิธีการที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาและเมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด – 19 คลี่คลาย  เราก็พบว่าการเรียนการสอนแบบ Active  learning สามารถใช้ได้ผลที่สุดโดยวิธีการเชิงรุก ซึ่งเมื่อปี 2565 ทางสมาคมฯ ได้มีการจัดกิจกรรม Kick off โครงการพัฒนาเด็กตลอดช่วงชีวิตเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการ Active  learning ให้ไปสู่ห้องเรียนให้มากที่สุด ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากพ่อแม่ผู้ปกครองและ 6 กระทรวงหลักในการร่วมมือกันและร่วมกันระดมสื่อมาต่อยอด ขณะเดียวกันแต่ละโรงเรียน ก็ทุ่มงบประมาณเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Active learning จัดสื่อลงไปอบรมครู

ดังนั้นในนามของสมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด(ประเทศไทย)ก็พยายามหาทางที่หลากหลาย เพื่อให้ครูได้ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning ให้มากที่สุดและเพื่อให้ครูได้เข้าใจวิธีการมากที่สุด ไม่ใช่เป็นเพียงฟังจากทฤษฎี แต่เราพยายามช่วยเหลือและกระตุ้นให้มีการผลิตสื่อและพัฒนาสื่อเพิ่มขึ้นนายชาญชัยกล่าวและว่า ปัจจุบันมีโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด  82 โรง  ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงของจังหวัด เพราะผู้ปกครองสนใจที่จะส่งลูกหลานเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นคุณภาพทุกด้านของโรงเรียนต้องมีความพร้อมที่จะรองรับ ซึ่งสมาคมฯร่วมมือกับทุกโรงเรียนในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านวิชาการ เพื่อนำไปสู่คุณภาพระดับสูงของการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย และประถมศึกษา ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจาก พว.ในการต่อยอดพัฒนาคุณภาพหลักสูตร คุณภาพผู้สอนเพื่อนำไปสู่คุณภาพผู้เรียน

ด้าน ดร.ศักดิ์สิน โรจนสราญรมย์  ประธานบริหารสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นหลักคิดที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะการดำรงไว้ซึ่งศักยภาพของโรงเรียนกับการต่อยอดที่สูงขึ้นไม่ใช่เพื่อความเป็นผู้นำเท่านั้น แต่เพื่อเป็นหนึ่งในเอเชียในระยะสองถึงสามปีข้างหน้าโดยการนำนวัตกรรมหรือผลการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมของเด็กมาแสดงให้เห็นว่าเราสามารถพัฒนาเด็กได้ทุกคนทุกความแตกต่างให้สามารถเข้าถึงนวัตกรรมและเป็นนวัตกรได้ ที่สำคัญยังเป็นหลักคิดที่สำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนประเทศตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning ซึ่งโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดจะเป็นกลุ่มใหญ่ที่จะขับเคลื่อนสร้างต้นแบบ เพื่อขยายผลไปสู่โรงเรียนระดับท้องถิ่นต่อไป

พว. พัฒนาสื่อมามากกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสมาคมมหาวิทยาลัยระหว่างประเทศ เมื่อนายยกสมาคมโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด(ประเทศไทย)ได้มาเห็น ได้สัมผัส ก็ยอมรับว่าเป็นทิศทางที่ล้ำหน้ามากในการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อพัฒนาศักยภาพชั้นสูงของเด็กเพื่อสร้างนวัตกรรมต่างๆต่อไปประธานบริหาร พว.กล่าว

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments