เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ดร.ตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา และการกีฬา วุฒิสภากล่าวว่า ปัจจุบันหลักสูตรของไทยเนื้อหาส่วนใหญ่ยังเป็น Passive Learning ที่ผลิตคนเพื่อป้อนระบบราชการ แต่ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้เราต้องการผลิตคน ให้เป็นคนที่ลงมือปฏิบัติ สามารถทำด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดความรู้ที่รอบด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในยุคนี้ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้เป็น Active Learning ดังนั้น เมื่อเด็กผ่านกระบวนการนี้แล้ว ก่อนจะทำอะไรหรือคิดผลิตชิ้นงานแต่ละชิ้น เขาจะต้องศึกษาอย่างรอบด้านแล้วลงมือทำด้วยตัวเอง ไม่ใช่ทำตามที่ครูบอก ซึ่งกระบวนการนี้เป็นหัวใจสำคัญของการเกิดนวัตกรรม

ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ หรือ พว. กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ พว.ได้ทำความร่วมมือ(MOU)กับโรงเรียนดรุณาราชบุรี โดยบาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนดรุณาราชบุรี เพื่อพัฒนาส่งเสริมคุณภาพการศึกษา โดยมีความประสงค์ตรงกันในการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพการศึกษาด้านกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) ให้เป็นผู้นำทางวิชาการในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนทุกคน ในระดับชั้นปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ให้มีพัฒนาการเต็มศักยภาพ มีคุณภาพและมีทักษะขั้นสูง โดยจะร่วมกันพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการการเรียนรู้ การยกระดับคุณภาพด้วยการพัฒนาครูตามหลักสูตรแนวใหม่ กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความก้าวหน้าของการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นความแตกต่างทางพหุปัญญาอย่างมีคุณภาพและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถถักทอสร้างความรู้ได้เองทุกระดับ สร้างความรู้ตั้งแต่นำเนื้อหา มาเรียนรู้ให้เข้าใจ รู้ความหมายเห็นคุณค่าในแต่ละรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ เกิดเป็นความรู้ระดับขั้นต้นและเพิ่มความรู้ไปสู่ระดับความคิดรวบยอด ตลอดไปจนถึงความรู้ในระดับหลักการ อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดผลงาน ผลผลิตในระดับนวัตกรรม เพื่อให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนคุณภาพสูงในระดับเวทีโลกต่อไป

บาทหลวงอภิสิทธิ์ กล่าวว่า โลกยุคปัจจุบันจำเป็นต้องปรับตัวค่อนข้างมาก ซึ่งโรงเรียนก็ต้องพัฒนาครูให้สามารถออกแบบการเรียนการสอนที่จะสร้างทักษะให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนมากกว่าที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก การเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการปฏิบัติจริงจึงเป็นวิธีการที่สามารถตอบโจทย์นี้ได้ เพราะผู้เรียนต้องร่วมกันคิด วิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ เพื่อค้นหาคำตอบหรือองค์ความรู้เพื่อการแก้โจทย์ร่วมกัน Active Learning จึงเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ในทศวรรษหน้า และวันนี้ เราได้เห็นคำตอบชัดเจนแล้วว่า กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถทำให้ผู้เรียนมีความสุข ที่สำคัญสามารถนำทักษะความรู้ไปแก้ปัญหาได้จริง อีกทั้งพร้อมออกไปแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ด้วย

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments