เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) มอบหมายให้ ดร.นิรุตต์  บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา เป็นประธานพิธีเปิดงาน “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่และนวัตกรรมอาชีวศึกษา ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2565 ”  ณ วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู

ดร.นิรุตต์  กล่าวว่า การจัดงานสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่และนวัตกรรมอาชีวศึกษา ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน เสริมสร้างให้ผู้เรียนอาชีวศึกษา ได้เรียนรู้และพัฒนาเป็นนักประดิษฐ์ นักคิดค้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะสูง สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 การขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา มุ่งเน้นผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุข มีความรู้ มีสมรรถนะอาชีพ เพื่อพัฒนาประเทศไทยมั่นคงด้วยการศึกษาอาชีวศึกษา การจัดงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่และนวัตกรรมอาชีวศึกษา มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนพร้อมเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และขับเคลื่อนต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เกิดประโยชน์ในวงกว้างทั้งตนเอง และสังคม สามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ เกิดคุณค่าให้ผู้เรียนได้เพิ่มทักษะ ได้รับประสบการณ์จริงสร้างกระบวนการเรียนรู้มีความเป็นเลิศ พัฒนา Soft Skills คิด สร้างสรรค์ด้วยงานวิจัยตั้งแต่ระดับสถานศึกษา ถึงระดับอาชีวศึกษาจังหวัด และสู่ระดับภาค นับเป็นจุดเริ่มต้นของผู้เรียนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง

ดร.นิรุตต์ กล่าวว่า งานนี้มีตัวแทนอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมจำนวน 121 สถานศึกษา 20 จังหวัด โดยมีประเภทของการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ จำแนกเป็น 6 ประเภท รวมทั้งสิ้น 168 ผลงาน ดังนี้ ประเภทที่ 1 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การเกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ จำนวน 28 ผลงาน ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ จำนวน 28 ผลงาน ประเภทที่ 3 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสิ่งแวดล้อม จำนวน 28 ผลงาน ประเภทที่ 4 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร จำนวน 28 ผลงาน ประเภทที่ 5 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Care) จำนวน 28 ผลงาน  และประเภทที่ 6 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ จำนวน 28 ผลงาน

 

 

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments