เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เรืออากาศโทสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ได้สนับสนุนมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษาป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) ตั้งแต่ ปี .. 2563 โดยมีการทดลองและจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาแกนนำ มีการทดลองและปรับปรุง นำไปใช้อบรมนักศึกษาแกนนำ ซึ่งวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)ทั้ง 25 แห่งได้ดำเนินการโครงการจัดกิจกรรมแล้วเสร็จในภาคเรียนที่ 1 ที่ผ่านมา ส่วนในภาคเรียนที่ 2 จะเป็นกิจกรรมรณรงค์เรื่องการป้องกันปัจจัยเสี่ยง เหล้าบุหรี่ ในสถานศึกษา

รองเลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า  จากรายงานการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทย ปี 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ปี 2564 อัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี อยู่ที่ร้อยละ 12.7 ซึ่งลดลงจากปี 2560 (ร้อยละ 15.4) ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนก็ลดลงเช่นกัน แต่จากสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้า พบ 78, 742 คนสูบบุหรี่ไฟฟ้า โดยมีสัดส่วนเป็นเยาวชน 15-24 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 30.5%) ซึ่งกลุ่มเยาวชนควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อประกอบการตัดสินใจ ส่วนสถานการณ์การพนัน ประจำปี 2562 โดยศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน พบประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าร้อยละ 98.9 เกิดจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคนรอบข้างเล่นการพนัน โดยมีเยาวชนที่ อายุ 15-25 ปีเล่นการพนันจำนวน 43 ล้านคนและมีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นปัญหาอยู่ 6 แสนคน จึงควรมีการสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนให้รู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยง สสส. จึงมีเป้าประสงค์จะขยายแนวร่วมในการทำงานเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนให้รู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ ที่เป็นต้นเหตุต่อเนื่องไปยังปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น ยาเสพติดรวมถึงปัจจัยเสี่ยงด้านการพนัน ทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจ การช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง ตลอดจนการร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมให้ปลอดจากปัจจัยเสี่ยง โดยมีตัวแทนครู ตัวแทนนักเรียน นักศึกษาจากทุกแผนกวิชาเข้าร่วมฝึกฝนทักษะ จนเกิดเป็นแกนนำครู นักเรียนนักศึกษา เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงส่งผลหลายด้าน ต่อนักเรียน นักศึกษา เช่น ผลการเรียนดีขึ้น ลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดการบาดเจ็บ การเสียชีวิตจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

1 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments